วิธีฝึกท่ายืดหยุ่นบัลเลต์ขั้นพื้นฐานด้วยตัวเอง

%e0%b8%89%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%82%e0%b8%b2

1. ท่าฉีกขา

– ฉีกขากับผนัง  ท่านี้จะนั่งหันหน้าเข้าหาผนัง พยายามแยกขาออกให้กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้ จำไว้ว่าพอรู้สึกตึงๆ ก็คือโอเคแล้ว อย่าฝืนแยกเยอะเกินเดี๋ยวเจ็บแล้วอาจจะอันตราย ค่อยๆ ทำไปบ่อยๆ เดี๋ยวก็แยกได้กว้างขึ้นเอง และอย่าลืมเก็บปลายเท้า

– ฉีกขาแล้วให้คนช่วยยัน  ท่านี้ต้องมีคนช่วยอีก 1 คน โดยนั่งแยกขา และเก็บปลายเท้าด้วย หันหน้าเข้าหาเพื่อน จับมือกันไว้ทั้ง 2 ข้าง จากนั้นให้เพื่อนช่วยใช้ขาทั้ง 2 ข้างของเพื่อนยันขาเราออกให้อ้าได้กว้างขึ้น

– ฉีกขาแล้วก้ม  ท่านี้นั่งแยกขาเก็บปลายเท้า แล้วก้มตัวให้หน้าผากแตะถึงขาแต่ละข้าง คล้ายๆ ท่าพาดบาร์แต่เพียงแค่ท่านี้ทำกับพื้น นอกจากก้มไปแตะขาสองข้างแล้วจะก้มมาข้างหน้าตรงๆ ให้หน้าผากแตะพื้นด้วยก็ได้ สำหรับก้มมาข้างหน้านี้ให้ใช้มือจับข้อเท้าไว้ด้วย ถ้าหน้าผากไม่ถึงพื้นไม่เป็นไร

 

%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%8c

 

2. ท่าพาดบาร์  อันดับแรกก็ต้องหาบาร์หรืออะไรซักอย่างที่สามารถยกขาไปพาดได้ซะก่อน แน่นอนว่าท่านี้ต้องทำทีละข้างนะ พอยกขาไปพาดบาร์ (ส่วนที่สัมผัสบาร์ก็คือเท้า) จากนั้นอย่าลืมเก็บปลายเท้าด้วยล่ะ เอามือจับข้อเท้าไว้แล้วก็ก้มลงไปให้หัวชิดขาเลย ค้างไว้ประมาณ 20 วินาทีเหมือนเดิม พอครบแล้วก็เปลี่ยนไปทำกับขาอีกข้าง

 

%e0%b8%9c%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad

3. ท่าผีเสื้อ ท่านี้หลายคนอาจจะรู้จักกันอยู่แล้ว ก็คือ นั่งเอาฝ่าเท้าชนกันแบบในรูป ใช้มือจับเท้าไว้ ดึงเท้าให้มาชิดๆ กับลำตัว พยายามกดขาลงไปติดพื้นให้ได้มากที่สุด แรกๆ อาจจะยังไม่ติดก็เอาแค่ให้รู้สึกตึงๆ ท่าผีเสื้อจะมี 2 แบบ คือ

– ขยับขาขึ้น – ลงไปมา

– ก้มลงไปให้หัวชิดเท้า

 

%e0%b8%aa%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b9%89%e0%b8%87

4. ท่าสะพานโค้ง ท่านี้คงรู้จักกันดี สะพานโค้งนี่มีสองแบบ คือ

– แบบธรรมดา นอนหงาย เอามือทั้งสองข้างยกมาวางไว้แถวๆ พื้นข้างหู แล้วดันตัวตัวเองขึ้น

– แบบแอดวานซ์ แบบนี้ไม่แนะนำเท่าไหร่ ดูอันตรายกว่าแบบแรก แต่ถ้าใครมีทักษะพอสมควรพร้อมทำท่าสะพานโค้งแบบนี้ คือ ยืนแล้วชูมือสองข้างขึ้นเหนือศีรษะ แบมือ เหยียดแขนตรง จากนั้นเอนหลังลงไปแตะพื้นเลย พยายามมองหาพื้นให้ดีก่อนเอนตัวลงไปหมด

เรียนบัลเลต์ควรเริ่มอย่างไร

การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะสมอง ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหวรวมทั้งรักษาสมดุลภายในร่างกาย ขณะที่ หัวใจ ก็ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้น ทั้ง สมอง และหัวใจจึงเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างยิ่ง และควรได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีที่สุด วันนี้เคล็ดลับสุขภาพดีมีรูปแบบกีฬา และการออกกำลังกายที่ช่วยพัฒนาสมองให้ฉับไวและเสริมหัวใจให้แข็งแรงมาฝากกันด้วยค่ะ

การเต้นบัลเลต์เป็นกีฬาที่น้อยคนนักจะทราบว่าเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยพัฒนาร่างกายและสมองไปในคราวเดียวกัน ให้ความรู้ถึงประโยชน์ของการเต้นบัลเลต์ว่า เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีแบบแผนและเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก โดยผู้ฝึกต้องจัดระเบียบร่างกายและกล้ามเนื้อให้ถูกต้องตามหลัก เมื่อฝึกต่อเนื่องเป็นเวลานานร่างกายจะสร้างกล้ามเนื้อขึ้นมา ซึ่งการฝึกบัลเลต์ช่วยพัฒนาสมองของผู้ฝึกทั้งด้านความจำและสมาธิ เนื่องจากเป็นการเต้นที่มีท่าทางตายตัว ผู้ฝึกจึงต้องจดจำท่าทางให้ได้ ขณะเดียวกันก็ต้องมีสมาธิและสติเพื่อรับรู้ว่าจัดระเบียบร่างกายได้ถูกต้องหรือไม่ เมื่อมีสมาธิดี ก็ย่อมทำให้เรียนรู้ได้ไวจดจำสิ่งรอบตัวได้มากขึ้น อีกทั้งขณะฝึกบัลเลต์ยังได้ฟังเพลงคลาสสิก ซึ่งมีผลวิจัยออกมาว่ามีประโยชน์ต่อการพัฒนาสมองและเพิ่มไอคิวได้

ขั้นที่ 1 ก่อนเริ่มเต้นบัลเลต์ควรอบอุ่นร่างกายด้วยกีฬาที่เกี่ยวข้องกับการยืดกล้าม เนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อขา หมายรวมถึงต้นขา น่อง ข้อเท้า เท้า และนิ้วเท้า ซึ่งเป็นอวัยวะที่ใช้มากในการเต้นบัลเลต์

ขั้นที่ 2 บริหารร่างกายบริเวณเอว เพราะการเต้นบัลเลต์อาจมีบางท่าที่คู่เต้นรำต้องยกเราขึ้น ดังนั้น การบริหารเอวจะช่วยให้กล้ามเนื้อแน่นและกระชับ ลดโอกาสในการบาดเจ็บ

ขั้นที่ 3 ส่วนต่อมาที่ควรบริหารคือแขน เพราะเป็นอีกองค์ประกอบที่ช่วยให้การแสดงบัลเลต์ออกมาสวยงาม ดังนั้น การยืดกล้ามเนื้อแขนจะช่วยให้การเคลื่อนไหวราบรื่นยิ่งขึ้น

ขั้นที่ 4 ฝึกเดิน ยืน และนั่ง ด้วยท่าที่ถูกต้องของการเต้นบัลเลต์ เพราะการฝึกเหล่านี้เทียบเท่ากับการอบอุ่นร่างกายก่อนเริ่มเล่นกีฬาชนิดอื่น สำหรับท่ายืนที่ถูกต้องของนักบัลเลต์คือ ต้องยืนบนปลายเท้า หลังตรง เกร็งหน้าท้อง

ขั้นที่ 5 สำหรับใครที่อยากเอาดีด้านการเต้นบัลเลต์ควรฝึกฝนเต้นอยู่เสมอกระทั่งที่ บ้าน โดยอาจฝึกยืดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆกับเก้าอี้หรือตู้แทนบาร์ที่ใช้ฝึกในชั้น เรียน โดยเฉลี่ยควรฝึกอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายมีความยืดหยุ่น

ขั้นที่ 6 ในการเต้นบัลเลต์ รองเท้านับเป็นอีกปัจจัยที่มีความสำคัญ ดังนั้น การเต้นแต่ละครั้งควรใส่รองเท้าบัลเลต์เพื่อความปลอดภัยขณะเต้น

เพื่อสร้างความเพลิดเพลินระหว่างเต้นบัลเลต์ เราควรเปิดเพลงประกอบ ขณะเดียวกันควรกำหนดระยะเวลาในการเต้น และควรเพิ่มระยะเวลาขึ้นตามลำดับ เพราะการฝึกบ่อยๆจะช่วยลดโอกาสในการบาดเจ็บจากความผิดพลาด ทำให้เราเต้นได้เก่ง และยังมีสุขภาพแข็งแรง

อย่างไรก็ตาม การเต้นบัลเลต์อาจเป็นกีฬาที่เหมาะกับคนมีฐานะ เพราะค่าใช้จ่ายสำหรับชุดและค่าเล่าเรียนค่อนข้างแพง ดังนั้น หากไม่มีกำลังทรัพย์ควรออกกำลังกายด้วยวิธีอื่น เช่น การเดิน การวิ่ง การปั่นจักรยาน ฯลฯ แต่อย่างน้อยต้องออกกำลังกายเพื่อความแข็งแรงของตัวเราเอง

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจให้ลูกไปเรียนบัลเล่ต์

ในปัจจุบันมีกิจกรรมที่สอนเสริมสำหรับเด็กเกิดขึ้นมากมาย เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ และนาฏศิลป์ แต่จะมีผู้ปกครองสักกี่คนที่จะรู้ว่ากิจกรรมแบบไหนเหมาะกับบุตรหลาน เพราะแต่ละกิจกรรมจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป และยังมีกิจกรรมที่เป็นที่นิยมอีกประเภทหนึ่ง นั่นคือ บัลเล่ต์

บัลเล่ต์ เป็นการเต้นถ่ายทอดเรื่องราวแทนคำพูด ออกเต้นตามจังหวะดนตรี เพื่อแสดงออกถึงความนึกคิด โดยไม่มีบทพูดแม้แต่คำเดียว การเรียนบัลเล่ต์เหมือนกับการเรียนรำไทย ซึ่งบัลเล่ต์นั้นเป็นศิลปะของทางชาติตะวันตก ซึ่งมีการใช้ท่าทางที่เป็นระเบียบ มีแบบแผน ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ส่วนชื่อท่าที่ใช้ก็เป็นภาษาอังกฤษทั้งสิ้น ประวัติของบัลเล่ต์นั้นมีที่มาจากประเทศอิตาลี และนำมาเผยแพร่ต่อในประเทศฝรั่งเศส ทำให้แพร่หลายเพิ่มมากขึ้น

เด็กๆหลายคนที่เลือกมาเรียนบัลเล่ต์นั้น เพราะอยากสวมใส่ชุดสวยๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เด็กผู้หญิงจะสวมถุงน่องและชุดที่คล้ายชุดว่ายน้ำสีสันและรูปแบบตามที่โรงเรียนได้กำหนดไว้ ส่วนเรื่องผมนั้นนักเรียนต้องทำมวยผมไว้ที่ด้านหลังให้เรียบร้อย เพื่อให้ครูผู้สอนเห็นแผ่นหลังที่ชัดเจน ส่วนเครื่องแต่งกายเด็กผู้ชายจะไม่ยุ่งยากเท่าเด็กผู้หญิง คือ สวมใส่เฉพาะถุงน่องกับเสื้อยืดเท่านั้น

ใครหลายคนอาจคิดว่าการเรียนบัลเล่ต์นั้นไม่มีประโยชน์ และดูฟุ่มเฟือย แต่ใครจะทราบว่าการเรียนนั้น มีประโยชน์ด้านเสริมสร้างบุคลิก การทรงตัว การเดิน การดัดตัว เป็นต้น ซึ่งจะดีหรือไม่นั้นต้องลองเข้าไปสัมผัสดู เพราะถ้าบัลเล่ต์เป็นสิ่งไม่ดีคงไม่มีการสืบทอดมานานนับร้อยปี

ผู้ปกครองหลายท่านพบว่าบุตรหลานมีบุคลิกภาพที่งดงามขึ้น แข็งแรง มีความกล้าแสดงออกมากขึ้น มีสมาธิมากขึ้น มีความสามารถในการทำท่าทางต่างๆ สามารถนำวิชาไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นๆได้ เช่น วิชาพละศึกษา วิชาดนตรี เป็นต้น ศิลปะทุกแขนงล้วนมีความน่าสนใจด้วยกันทั้งนั้น ทุกๆสิ่งที่อยู่รอบตัวเป็นตัวจุดประกายให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ บัลเล่ต์นั้นเป็นศิลปะที่งดงาม อ่อนหวานและช่วยพัฒนาทางด้านร่างกายและอารมณ์ เมื่อผู้เรียนสามารถเข้าใจและสนุกกับการเรียน ก็จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีที่สุด

ศึกษาถึงประโยชน์ของการเรียนบัลเล่ต์ Ballet

บัลเลต์มีองค์ประกอบสำคัญมีอยู่ด้วยกันสองอย่างคือ การเต้น และดนตรี ซึ่งโดยปกติดนตรีมักจะเกิดขึ้นก่อน แล้วผู้คิดท่าทางเต้น จึงคิดท่าทางต่าง ๆ ให้เข้ากับเพลงนั้นๆ ทั้งนี้ผู้ที่ต้องการจะเต้นบัลเลต์ควรได้รับการฝึกฝนจากครูและควรเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อพัฒนาการด้านความอ่อนตัวและกระดูก บัลเลต์มีส่วนช่วยพัฒนาบุคลิกภาพ แก้ไขข้อบกพร่องของลักษณะการเดินให้มีความสง่างาม เช่น ยืนหลังตรง เพราะบัลเลต์ฝึกให้ยืนหลังตรงหน้าเชิดตลอดเวลา มีพัฒนาการทั้งทางด้าน อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เด็กที่ได้รับการฝึกฝนอย่างเป็นประจำจะมีสุขภาพแข็งแรง ร่าเริงแจ่มใส ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและความกล้าแสดงออกอีกด้วยนอกจากนี้ยัง ฝึกให้มีความรับผิดชอบและมีระเบียบวินัยเพราะมีการสอบเลื่อนระดับทุกปี

ปัจจุบันมีโรงเรียนเปิดสอนหลายแห่ง อย่างเช่น บางกอกแดนซ์ Point Studio โรงเรียนสอนบัลเลย์วราภรณ์-กาญจนา และอื่นๆ

หลักสูตรการเรียนการสอนบัลเลต์

Pre-Ballet สำหรับเด็ก 3 ขวบครึ่ง – 4 ขวบครึ่ง เป็นการสร้างจินตนาการของเด็ก และปูพื้นฐานเบื้องต้น เช่น การยืน การนั่ง การกดปลายเท้า ท่าแขน
Pre-Primary สำหรับเด็ก 4 ขวบครึ่ง – 5 ขวบครึ่ง เป็นการปูพื้นฐานท่าต่างๆ ท่าแขน ท่าเท้า และการกระโดดเบื้องต้น รวมถึงสร้างเสริมจินตนาการไปตามเสียงดนตรี
Primary สำหรับเด็ก 5 ขวบครึ่ง – 6 ขวบครึ่ง เน้นเรื่องเทคนิคมากขึ้น เริ่มมีระบำหรือเพลงที่ยาวขึ้น เริ่มมีการเต้นรำเดี่ยว ส่งเสริมพัฒนาการการรู้จักเต้นให้เข้ากับจังหวะมากยิ่งขึ้น

เกรด 1-8 เริ่มตั้งแต่เด็ก 7 ขวบขึ้นไป ความยากง่ายขึ้นอยู่กับระดับชั้นที่เรียน Advance พื้นฐานการเรียนบัลเลต์ในระดับสูงสำหรับผู้ที่ต้องการยึดเป็นอาชีพต่อไป

หลักสูตร บัลเลต์ผู้ใหญ่ เหมาะสำหรับผู้ใหญ่ที่ต้องการเสริมบุคลิกภาพ ออกกำลังกาย กระชับรูปร่างให้ได้สัดส่วนมากขึ้น
ประโยชน์ของการเรียนบัลเลต์
1.ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทั้งร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญา
2.ทำให้ผู้เรียนมีสรีระและบุคลิกภาพที่ดี เช่น การยืน เพราะบัลเล่ต์จะต้องยืนหลังตรงหน้าเชิดตลอดเวลา
3.ฝึกให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบและมีระเบียนวินัย เพราะมีการสอนเลื่อนระดับด้วย
4.ส่งเสริมพัฒนาการทางดนตรี เพราะช่วยให้ผู้เรียนรู้จักเพลงคลาสสิค
5.เป็นการปูพื้นฐานการเต้นให้กับผู้เรียน
6.เป็นการปลูกฝังรสนิยมที่ดีให้กับเด็ก