‘ออมมิ ณัฐนรี พิพิธสุขสันต์’ นักบัลเล่ต์สาวไทยในวงการบัลเล่ต์ระดับโลก

ballet-cover

ออมมิเริ่มเรียนบัลเลต์ตั้งแต่อนุบาล 3 ที่โรงเรียนมาแตร์เดอี พอเข้า ป.1 คุณแม่ก็อยากให้ทำกิจกรรมและประกอบกับตอนนั้นตัวเล็ก ตอนเด็กๆ เป็นคนไม่ค่อยกินข้าว คุณแม่กลัวก็เลยคิดว่าควรไปออกกำลังกายจะได้เหนื่อย แล้วกินข้าวจะได้ตัวสูงๆ ตอนป.1 ออมมิก็เลยได้ไปเรียนบัลเลต์กับเพื่อน 20 กว่าคน เริ่มเรียนที่โรงเรียนวราพร-กาญจนาบัลเลต์สกูล หรือคนไทยรู้จักกันว่าโรงเรียนบัลเลต์หลังสวน เริ่มตั้งแต่เลเวลแรก ซึ่งชื่อว่า Pre-Primary เวลาเราไปเรียนเหมือนได้วิ่งโบกผ้าแล้วจินตนาการว่าเป็นเจ้าหญิงบ้างอะไรบ้าง เหมือนไปวิ่งเล่นกับเพื่อน ออมมิก็รู้สึกตกหลุมรักทันทีเลยรู้สึกสนุกและมีความสุข

โบยบินสู่ต่างแดน

จุดหักเหจริงๆ คือตอนที่ออมมิสอบ RAD ระดับ Advance กับ Solo Seal ที่ผู้ทดสอบจากต่างประเทศบินมาสอบ แล้วเขาก็คุยกับคุณครูออมนิว่าเด็กคนนี้มีพรสวรรค์มาก เขาก็แนะนำให้ไปเรียนต่อที่ The Royal Ballet School ที่ลอนดอน ถือว่าตอนนั้นเป็นจุดหักเหที่เราจะเรียนเป็นมืออาชีพ ตอนนั้นอายุ 15 ก็เลยบินไปที่ประเทศอังกฤษอยู่ที่ลอนดอน

เข้าไปสักประมาณเดือนครึ่งก็มีการแข่งขัน Adeline Genee International Ballet Competition ซึ่งคนที่จะประกวดเข้ามาต้องมีอายุ 15-19 เท่านั้น ออมมิเป็นคนที่อายุน้อยที่สุดในการแข่งขัน คุณครูบอกว่าไหนๆ เราจะเข้าไปอังกฤษอยู่แล้วทำไมไม่ไปแข่งหาประสบการณ์ไปเลย  เราก็โอเคเข้าไปแข่งโดยไม่ได้คิดอะไรแต่ก็ได้ชนะเลิศเหรียญทองมา แล้วก็เป็นปีที่สร้างประวัติศาสตร์ตรงที่ว่าเป็นคนที่อายุน้อยที่สุดของการแข่งขันนี้เลย ซึ่งปีนั้นครบรอบ 70 ปีของการแข่งขันด้วย และก็เป็นคนไทยคนแรกที่ได้เหรียญทอง

หัวใจสำคัญของนักบัลเล่ต์

การเต้นบัลเลต์ไม่ได้ขึ้นอยู่ว่าเตะขาได้สูงแค่ไหน เพราะเด็กสมัยนี้ก็ทำได้ แต่คนที่เป็นพริ้นซิเพิ้ลแดนเซอร์คืออาร์ทติสท์ที่จุดนี้มันอธิบายยากมาก สอนเทคนิคสอนได้หมด แต่จะสอนความเป็นศิลปิน ความมีออร่าเป็นนางเอกมันสอนกันไม่ได้ มันต้องมาจากข้างใน

ที่มาที่ไป ”บัลเล่ต์” ในไทย (Ballet Dance)

%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b9%84%e0%b8%9b-%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%a5%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%95%e0%b9%8c-%e0%b9%83%e0%b8%99

ประวัติความเป็นมาของบัลเล่ต์นั้น ในประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ยุค  ตามวิวัฒนาการทางด้านการศึกษาและการแสดง

ยุคที่ 1 ยุคนี้เป็นยุคริเริ่ม (ตั้งแต่ พ.ศ. 2477 ถึง พ.ศ. 2494)   เริ่มมีการเรียนบัลเลต์ในโรงเรียนนาฏดุริยางคศาสตร์ใน พ.ศ. 2477 ตรงกับสมัยรัชการที่ 7 เป็นการสอนแบบอิสระโดยให้นักเรียนเต้นตาม การแสดงจะเป็นการเต้นประกอบเพลงในละครเพื่อคั่นสลับฉาก รูปแบบการนำเสนอของบัลเล่ต์เข้ามามีบทบาท กับการแสดงนาฏยศิลป์ไทยโดยเฉพาะในละครดึกดำบรรพ์

ยุคที่ 2 ยุคพัฒนาบัลเล่ต์ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ถึง พ.ศ. 2509)  บัลเล่ต์เริ่มมีการพัฒนามากขึ้น เนื่องจากมีครูบัลเล่ต์อาชีพจากต่างประเทศจำนวน 4 คนเปิดสอนบัลเล่ต์ในกรุงเทพฯ การสอนยังเป็นแบบอิสระและมักเป็นการซ้อมเพื่อแสดง มีคนไทยจำนวน 4 คนจบการศึกษาบัลเล่ต์ขั้นสูงจากประเทศอังกฤษ บัลเล่ต์เริ่มขยายไปสู่จังหวัดเชียงใหม่ การแสดงเป็นบัลเล่ต์คลาสสิกและการผสมระหว่างนาฏยศิลป์ไทยกับบัลเล่ต์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงประพันธ์บทเพลงเพื่อใช้ประกอบการแสดงบัลเล่ต์หลายชุด และทรงให้การสนับสนุนการแสดงบัลเล่ต์ จึงทำให้บัลเล่ต์เป็นที่รู้จักของคนไทยมากขึ้น

และในยุคที่ 3 ยุคมาตรฐานบัลเล่ต์คลาสสิก (ตั้งแต่ พ.ศ. 2509 ถึง พ.ศ. 2541) การเต้นบัลเล่ต์ได้พัฒนาจนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ของหลักสูตรการศึกษาของไทยในระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา และได้มีการแพร่ขยายไปในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ การสอนเปลี่ยนแปลงมาเป็นการใช้หลักสูตรสากลของประเทศอังกฤษ เป็นการวัดมาตรฐานบัลเล่ต์ของประเทศไทยให้ได้มาตรฐานสากล การแสดงเป็นบัลเล่ต์คลาสสิก โดยมี 2 ลักษณะ คือ การแสดงงานโรงเรียนและการแสดงในเชิงพาณิชย์ ในประเทศไทยยังไม่มีคณะบัลเล่ต์อาชีพ และผู้สนับสนุนบัลเล่ต์อย่างจริงจัง ทำให้การพัฒนาไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งควรมีการแต่งตำราเกี่ยวกับบัลเล่ต์เป็นภาษาไทย เพื่อให้นักเต้นได้รู้และเข้าใจการเต้นบัลเล่ต์ดียิ่งขึ้น และงานวิจัยฉบับนี้ควรนำไปสู่การวิจัยเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาบัลเล่ต์ในประเทศไทยต่อไป

วิธีฝึกท่ายืดหยุ่นบัลเลต์ขั้นพื้นฐานด้วยตัวเอง

%e0%b8%89%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%82%e0%b8%b2

1. ท่าฉีกขา

– ฉีกขากับผนัง  ท่านี้จะนั่งหันหน้าเข้าหาผนัง พยายามแยกขาออกให้กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้ จำไว้ว่าพอรู้สึกตึงๆ ก็คือโอเคแล้ว อย่าฝืนแยกเยอะเกินเดี๋ยวเจ็บแล้วอาจจะอันตราย ค่อยๆ ทำไปบ่อยๆ เดี๋ยวก็แยกได้กว้างขึ้นเอง และอย่าลืมเก็บปลายเท้า

– ฉีกขาแล้วให้คนช่วยยัน  ท่านี้ต้องมีคนช่วยอีก 1 คน โดยนั่งแยกขา และเก็บปลายเท้าด้วย หันหน้าเข้าหาเพื่อน จับมือกันไว้ทั้ง 2 ข้าง จากนั้นให้เพื่อนช่วยใช้ขาทั้ง 2 ข้างของเพื่อนยันขาเราออกให้อ้าได้กว้างขึ้น

– ฉีกขาแล้วก้ม  ท่านี้นั่งแยกขาเก็บปลายเท้า แล้วก้มตัวให้หน้าผากแตะถึงขาแต่ละข้าง คล้ายๆ ท่าพาดบาร์แต่เพียงแค่ท่านี้ทำกับพื้น นอกจากก้มไปแตะขาสองข้างแล้วจะก้มมาข้างหน้าตรงๆ ให้หน้าผากแตะพื้นด้วยก็ได้ สำหรับก้มมาข้างหน้านี้ให้ใช้มือจับข้อเท้าไว้ด้วย ถ้าหน้าผากไม่ถึงพื้นไม่เป็นไร

 

%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%9a%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%8c

 

2. ท่าพาดบาร์  อันดับแรกก็ต้องหาบาร์หรืออะไรซักอย่างที่สามารถยกขาไปพาดได้ซะก่อน แน่นอนว่าท่านี้ต้องทำทีละข้างนะ พอยกขาไปพาดบาร์ (ส่วนที่สัมผัสบาร์ก็คือเท้า) จากนั้นอย่าลืมเก็บปลายเท้าด้วยล่ะ เอามือจับข้อเท้าไว้แล้วก็ก้มลงไปให้หัวชิดขาเลย ค้างไว้ประมาณ 20 วินาทีเหมือนเดิม พอครบแล้วก็เปลี่ยนไปทำกับขาอีกข้าง

 

%e0%b8%9c%e0%b8%b5%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad

3. ท่าผีเสื้อ ท่านี้หลายคนอาจจะรู้จักกันอยู่แล้ว ก็คือ นั่งเอาฝ่าเท้าชนกันแบบในรูป ใช้มือจับเท้าไว้ ดึงเท้าให้มาชิดๆ กับลำตัว พยายามกดขาลงไปติดพื้นให้ได้มากที่สุด แรกๆ อาจจะยังไม่ติดก็เอาแค่ให้รู้สึกตึงๆ ท่าผีเสื้อจะมี 2 แบบ คือ

– ขยับขาขึ้น – ลงไปมา

– ก้มลงไปให้หัวชิดเท้า

 

%e0%b8%aa%e0%b8%b0%e0%b8%9e%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b9%89%e0%b8%87

4. ท่าสะพานโค้ง ท่านี้คงรู้จักกันดี สะพานโค้งนี่มีสองแบบ คือ

– แบบธรรมดา นอนหงาย เอามือทั้งสองข้างยกมาวางไว้แถวๆ พื้นข้างหู แล้วดันตัวตัวเองขึ้น

– แบบแอดวานซ์ แบบนี้ไม่แนะนำเท่าไหร่ ดูอันตรายกว่าแบบแรก แต่ถ้าใครมีทักษะพอสมควรพร้อมทำท่าสะพานโค้งแบบนี้ คือ ยืนแล้วชูมือสองข้างขึ้นเหนือศีรษะ แบมือ เหยียดแขนตรง จากนั้นเอนหลังลงไปแตะพื้นเลย พยายามมองหาพื้นให้ดีก่อนเอนตัวลงไปหมด

ลักษณะเครื่องแต่งกายในการเรียนบัลเลต์

บัลเล่ต์ ถือได้ว่าเป็นศิลปอย่างชัดเจนในระหว่างศริสต์ศตวรรษที่ 18 วิธีการเป็นแบบฉบับมากขึ้นและยากขึ้น เช่น Mrie Carmago และ Marie Salle ได้ปฏิวัติเครื่องแต่งกายหญิงให้สามารถเคลื่อนไหวได้เป็นอิสระมากขึ้น ขณะเดียวกันกับที่ Jean Noverre,Franz Hilferding พยายามพัฒนาบัลเล่ต์ ไปสู่ความมีแบบฉบับที่ชัดเจนที่เรียกว่า Ballet d’ action

ลักษณะเครื่องแต่งกายในการเรียนบัลเลต์ โดยมีส่วนประกอบสำคัญทัง 3 ส่วน ประกอบด้วยกัน
1. เสื้อรัดรูป ที่เรียกว่า ลี-โอะทาด (Leotard) เป็นเสื้อที่มีลักษณะรัดรูป แขนกุด แขนสั่น แขนยาว สายเดี่ยว หรือลักษณะคล้ายเสื้อกล้ามเพื่อเน้นให้เห็นสัดส่วนของร่างกาย โดยครูผู้สอนสามารถมองเห็นกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ ของลำตัวได้อย่างชัดเจน เพื่อจะนำไปสู่การชี้แนะ แก้ไข การจัดระเบียบร่างกายที่ถูกต้องต่อไป โดยทั่วไปเสื้อรัดรูปที่ดีควรดูดซับเหงื่อได้ดี และระบายความร้อนได้ดีในเวลาเดียวกัน
2. การเกงรัดรูปหรือถุงน่อง ที่เรียกว่า ไทป์ (Tight) เป็นกางเกงรัดรูปหรือถุงน่องชนิดยาวคลุมเท้าหรือยาวปิดเท้า ซึ่งโดยปปกตินักเรียนบัลเล่ต์ชาย จะนิยมสวมใส่ไทป์สีดำหรือสีขาว ในขณะที่นักเรียนบัลเล่ต์หญิงจะสวมใส่ไทปืสีชมพู กางเกงรัดรูปหรือถุงน่องก็เป็นเครื่องแต่งกายสำหรับนักเรียนบัลเล่ตือีกลักษณะหนึ่งที่มีความจำเป็นต้องรัดรูป เพื่อเน้นให้ครูผู้สอนสามารถมองเห็นกล้ามเนื้อได้อย่างชัดเจนและพร้อมจะทำการแก้ไขต่อไป ส่วนความหมายสำคัญเชิงศิลปะการแสดงการเต้นบัลเล่ต์ การใส่ชุดรัดรูปจะช่วยให้ผู้ชมสามารถชื่นชมความงดงามของร่างกาย จากลวดลายการเคลื่อนไหว ศรีษะ แขน ขา และลำตัวได้อย่างอย่างชัดเจน ประกอบอารมณืในการแสดง
3.รองเท้ารัดรุปชนิดผ้านิ่ม ที่เรียกว่า ซอฟย์ ชู (Soft shoe) เป็นรองเท้ารัดรูปที่ใช้วัสดุในการผลิตจากผ้าซาติน หรือหนังเทียม โดยปกตินักเรียนบัลเล่ต์ชายจะใช้รองเท้ารัดรูปสีขาวหรือสีดำ ในขณะที่นักเรียนบัลเล่ต์หญิงจะใช้รองเท้ารัดรุปสีชมพู เพื่อให้สีของรองเท้ากลมกลือนไปกับสีของถุงน่อง

เรียนบัลเลต์ควรเริ่มอย่างไร

การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะสมอง ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหวรวมทั้งรักษาสมดุลภายในร่างกาย ขณะที่ หัวใจ ก็ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้น ทั้ง สมอง และหัวใจจึงเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างยิ่ง และควรได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีที่สุด วันนี้เคล็ดลับสุขภาพดีมีรูปแบบกีฬา และการออกกำลังกายที่ช่วยพัฒนาสมองให้ฉับไวและเสริมหัวใจให้แข็งแรงมาฝากกันด้วยค่ะ

การเต้นบัลเลต์เป็นกีฬาที่น้อยคนนักจะทราบว่าเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยพัฒนาร่างกายและสมองไปในคราวเดียวกัน ให้ความรู้ถึงประโยชน์ของการเต้นบัลเลต์ว่า เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีแบบแผนและเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก โดยผู้ฝึกต้องจัดระเบียบร่างกายและกล้ามเนื้อให้ถูกต้องตามหลัก เมื่อฝึกต่อเนื่องเป็นเวลานานร่างกายจะสร้างกล้ามเนื้อขึ้นมา ซึ่งการฝึกบัลเลต์ช่วยพัฒนาสมองของผู้ฝึกทั้งด้านความจำและสมาธิ เนื่องจากเป็นการเต้นที่มีท่าทางตายตัว ผู้ฝึกจึงต้องจดจำท่าทางให้ได้ ขณะเดียวกันก็ต้องมีสมาธิและสติเพื่อรับรู้ว่าจัดระเบียบร่างกายได้ถูกต้องหรือไม่ เมื่อมีสมาธิดี ก็ย่อมทำให้เรียนรู้ได้ไวจดจำสิ่งรอบตัวได้มากขึ้น อีกทั้งขณะฝึกบัลเลต์ยังได้ฟังเพลงคลาสสิก ซึ่งมีผลวิจัยออกมาว่ามีประโยชน์ต่อการพัฒนาสมองและเพิ่มไอคิวได้

ขั้นที่ 1 ก่อนเริ่มเต้นบัลเลต์ควรอบอุ่นร่างกายด้วยกีฬาที่เกี่ยวข้องกับการยืดกล้าม เนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อขา หมายรวมถึงต้นขา น่อง ข้อเท้า เท้า และนิ้วเท้า ซึ่งเป็นอวัยวะที่ใช้มากในการเต้นบัลเลต์

ขั้นที่ 2 บริหารร่างกายบริเวณเอว เพราะการเต้นบัลเลต์อาจมีบางท่าที่คู่เต้นรำต้องยกเราขึ้น ดังนั้น การบริหารเอวจะช่วยให้กล้ามเนื้อแน่นและกระชับ ลดโอกาสในการบาดเจ็บ

ขั้นที่ 3 ส่วนต่อมาที่ควรบริหารคือแขน เพราะเป็นอีกองค์ประกอบที่ช่วยให้การแสดงบัลเลต์ออกมาสวยงาม ดังนั้น การยืดกล้ามเนื้อแขนจะช่วยให้การเคลื่อนไหวราบรื่นยิ่งขึ้น

ขั้นที่ 4 ฝึกเดิน ยืน และนั่ง ด้วยท่าที่ถูกต้องของการเต้นบัลเลต์ เพราะการฝึกเหล่านี้เทียบเท่ากับการอบอุ่นร่างกายก่อนเริ่มเล่นกีฬาชนิดอื่น สำหรับท่ายืนที่ถูกต้องของนักบัลเลต์คือ ต้องยืนบนปลายเท้า หลังตรง เกร็งหน้าท้อง

ขั้นที่ 5 สำหรับใครที่อยากเอาดีด้านการเต้นบัลเลต์ควรฝึกฝนเต้นอยู่เสมอกระทั่งที่ บ้าน โดยอาจฝึกยืดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆกับเก้าอี้หรือตู้แทนบาร์ที่ใช้ฝึกในชั้น เรียน โดยเฉลี่ยควรฝึกอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายมีความยืดหยุ่น

ขั้นที่ 6 ในการเต้นบัลเลต์ รองเท้านับเป็นอีกปัจจัยที่มีความสำคัญ ดังนั้น การเต้นแต่ละครั้งควรใส่รองเท้าบัลเลต์เพื่อความปลอดภัยขณะเต้น

เพื่อสร้างความเพลิดเพลินระหว่างเต้นบัลเลต์ เราควรเปิดเพลงประกอบ ขณะเดียวกันควรกำหนดระยะเวลาในการเต้น และควรเพิ่มระยะเวลาขึ้นตามลำดับ เพราะการฝึกบ่อยๆจะช่วยลดโอกาสในการบาดเจ็บจากความผิดพลาด ทำให้เราเต้นได้เก่ง และยังมีสุขภาพแข็งแรง

อย่างไรก็ตาม การเต้นบัลเลต์อาจเป็นกีฬาที่เหมาะกับคนมีฐานะ เพราะค่าใช้จ่ายสำหรับชุดและค่าเล่าเรียนค่อนข้างแพง ดังนั้น หากไม่มีกำลังทรัพย์ควรออกกำลังกายด้วยวิธีอื่น เช่น การเดิน การวิ่ง การปั่นจักรยาน ฯลฯ แต่อย่างน้อยต้องออกกำลังกายเพื่อความแข็งแรงของตัวเราเอง

เต้นบัลเลต์พิชิตหุ่นสวย

บัลเล่ต์ เป็นการเต้นคลาสสิคและถือกำเนิดขึ้นในหมู่สังคมคนชั้นสูงในประเทศอิตาลี หลังจากนั้นได้รับการพัฒนาให้เป็นการแสดงบนเวทีในประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ และรัสเซีย บัลเล่ต์เป็นการเต้นที่มีเทคนิคชั้นสูงและมีคำศัพท์โดยเฉพาะ ปกติจะแสดงร่วมกับดนตรีคลาสสิค

การเต้นบัลเล่ต์เป็นพื้นฐานการเต้นแบบสากลเกือบทุกประเภทในปัจจุบัน และเป็นการเต้นที่มีการสอนมากที่สุดในโรงเรียนเต้นทั่วโลก
บัลเล่ต์มีหลากหลายประเภท เช่น คลาสสิค นีโอคลาสสิค บัลเล่ต์ร่วมสมัย และยังรวมถึงเทคนิึค mime ที่แสดงท่าทางและสีหน้าโดยไม่ใช้คำพูดและเทคนิคการแสดงอีกด้วย การแสดงบัลเล่ต์เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของการแสดงที่สวยงาม อ่อนช้อย การเคลื่อนไหวท่วงท่าอย่างแม่นยำแต่ทว่าละเอียดอ่อน ผู้เรียนสามารถเริ่มต้นเรียนบัลเล่ต์ได้ทุกวัย บัลเล่ต์ช่วยให้ร่างกายส่วนต่างๆแข็งแรง ช่วยยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ และทำให้มีสัดส่วนของร่างกายที่สวยงามขึ้นด้วย Continue reading เต้นบัลเลต์พิชิตหุ่นสวย

เต้นบัลเลต์-กระโดดเชือก ช่วยพัฒนาสมองและ เสริมหัวใจให้แข็งแรง

การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะสมอง ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหวรวมทั้งรักษาสมดุลภายในร่างกาย ขณะที่ หัวใจ ก็ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้น ทั้ง สมอง และหัวใจจึงเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างยิ่ง และควรได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีที่สุด วันนี้เคล็ดลับสุขภาพดีมีรูปแบบกีฬา และการออกกำลังกายที่ช่วยพัฒนาสมองให้ฉับไวและเสริมหัวใจให้แข็งแรงมาฝากกันด้วยค่ะ

การเต้นบัลเลต์เป็นกีฬาที่น้อยคนนักจะทราบว่าเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยพัฒนาร่างกายและสมองไปในคราวเดียวกัน ให้ความรู้ถึงประโยชน์ของการเต้นบัลเลต์ว่า เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีแบบแผนและเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก โดยผู้ฝึกต้องจัดระเบียบร่างกายและกล้ามเนื้อให้ถูกต้องตามหลัก เมื่อฝึกต่อเนื่องเป็นเวลานานร่างกายจะสร้างกล้ามเนื้อขึ้นมา ซึ่งการฝึกบัลเลต์ช่วยพัฒนาสมองของผู้ฝึกทั้งด้านความจำและสมาธิ เนื่องจากเป็นการเต้นที่มีท่าทางตายตัว ผู้ฝึกจึงต้องจดจำท่าทางให้ได้ ขณะเดียวกันก็ต้องมีสมาธิและสติเพื่อรับรู้ว่าจัดระเบียบร่างกายได้ถูกต้องหรือไม่ เมื่อมีสมาธิดี ก็ย่อมทำให้เรียนรู้ได้ไวจดจำสิ่งรอบตัวได้มากขึ้น อีกทั้งขณะฝึกบัลเลต์ยังได้ฟังเพลงคลาสสิก ซึ่งมีผลวิจัยออกมาว่ามีประโยชน์ต่อการพัฒนาสมองและเพิ่มไอคิวได้ เคล็ดลับสำหรับการฝึกบัลเลต์ในผู้ใหญ่ให้ได้ผลก็คือ ต้องมีความเชื่อว่าตัวเองสามารถทำได้ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเสมอ หมั่นฝึกฝนเป็นประจำ และมีความอดทนในการฝึก หากอยากมีสมองที่ฉับไว ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยไหนก็สามารถฝึกบัลเลต์ได้เพียงแต่อาจใช้เวลาในการพัฒนาต่างกัน
สำหรับกีฬาที่ช่วยเสริมหัวใจให้แข็งแรง คือ การกระโดดเชือก เป็นกีฬาที่ได้รับการยอมรับทั้งจากประเทศไทยและทั่วโลกว่าสามารถสร้างสุขภาพได้จริง ซึ่งจะเห็นได้จากการตั้งชมรมหรือสมาคมกระโดดเชือกในนานาประเทศ รวมไปถึงมีการจัดให้มีการแข่งขันในระดับนานาชาติทั้งในรูปแบบกระโดดคนเดียวและกระโดดพร้อมกันครั้งละหลาย ๆ คน โดย พล.อ.นพ.ประวิชช์ ตันประเสริฐ ประธานโครงการกระโดดเชือกทางเลือกเยาวชนพ้นโรคหัวใจมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้คำแนะนำว่า การกระโดดเชือกเป็นการออกกำลังกายที่ไม่รุนแรงและใช้กล้ามเนื้อ เช่น แขน ขา อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้หัวใจเต้นช้าลง สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ครั้งละปริมาณมาก จึงทำให้ปอดขยาย และกักเก็บออกซิเจนได้มากขึ้น นอกจากนี้การกระโดดเชือกยังเป็นการออกกำลังกายที่ต้องอาศัยการทรงตัวที่ดี เมื่อกระโดดเชือกเป็นเวลานาน จึงยิ่งส่งเสริมให้ร่างกายมีการทรงตัวที่ดี และช่วยลดปัญหาหกล้มหรือเดินเซ เมื่อเข้าสู่วัยชราได้ อีกทั้งในขณะที่กระโดดเชือกสายตาและเท้าต้องทำงานประสานกันตลอดเวลา จึงเป็นการเพิ่มความคล่องแคล่ว ว่องไว ให้แก่ระบบประสาทได้เป็นอย่างดี

ศิลปะการแสดงสุดคลาสสิกอันเก่าแก่และสวยงามบัลเล่ต์มีต้นกำเนิดเป็นการแสดงในราชสำนักอิตาลี

45

ศิลปะการแสดงสุดคลาสสิกอันเก่าแก่และสวยงาม บัลเล่ต์มีต้นกำเนิดเป็นการแสดงในราชสำนักอิตาลีตั้งแต่ยุคเรอเนซองซ์ ทว่ามามีพัฒนาการจนมีหน้าตาเหมือนบัลเลต์ในปัจจุบันที่ฝรั่งเศส และกลายเป็นการแสดงที่แพร่หลายในรัสเซีย ก่อนที่ภายหลังจะมีการเติบโตไปในอีกรูปแบบหนึ่งที่อเมริกา บัลเลต์มีพัฒนาการมากมายต่างไปจากจุดเริ่มในอิตาลี ในยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส หรือในศตวรรษที่ 17 ซึ่งได้สร้างรูปแบบที่เป็นรากฐานของบัลเลต์คลาสสิกในปัจจุบัน กระทั่งราวปี 1850 ความรุ่งเรืองของบัลเลต์ย้ายวิกไปยังเดนมาร์กและรุ่งโรจน์สุดๆ ที่รัสเซีย จนเรียกได้ว่ากลายเป็นอาณาจักรของนักระบำปลายเท้าไปเลย

บัลเลต์น่าจะมีรากศัพท์จาก บัลเยเร ในภาษาละตินแปลว่า เต้น เกิดขึ้นอย่างบังเอิญในงานแต่งงานของชนชั้นสูงในอิตาลี ที่นักดนตรีเพียงต้องการมอบความบันเทิงให้แขกผู้มาร่วมงานเท่านั้น ก็เลย เต้นให้ชมกัน ภายหลังคณะนักเต้นประจำราชสำนักฝรั่งเศสเห็นว่า เป็นการแสดงที่น่าจะมอบความบันเทิงให้ผู้ชมได้ จึงคิดว่าน่าจะมีดนตรี บทพูด บทร้อง ท่วงท่า รวมทั้งการออกแบบเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับเรื่องราว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคาเทรีน เด เมดิซี หญิงสาวอิตาเลียนจากตระกูลสูงผู้หลงใหลในศิลปะ ได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าฟ้าชายเฮนรีที่ 2 ของฝรั่งเศส พระนางก็ทรงผลักดัน รวมทั้งประธานทุนช่วยเหลือในการพัฒนา “บัลโย” สู่ “บัลเลต์” ด้วย บัลเลต์สมัยเรอเนสซองซ์ในอิตาลีห่างไกลจากบัลเลต์ที่เราเห็นในทุกวันนี้ นัก กระโปรงสุ่มสั้นๆ กับรองเท้าบัลเลต์ก็ยังไม่เกิดขึ้นในยุคนั้น นักเต้นยังคงสวมใส่กระโปรงสุ่มแบบที่ปิดคลุมถึงข้อเท้าเช่นที่ผู้หญิงทั่วๆ ไปสวมใส่กัน

เวลาผ่านไปถึง 2 ศตวรรษ จึงเกิดการปฏิวัติในบัลเลต์ขึ้นที่ฝรั่งเศส อย่างที่เรียกว่าเปลี่ยนรูปแบบไปจากจุดเริ่มต้น อาจเนื่องเพราะพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นพิเศษในศิลปะการแสดง รวมทั้งต้องการสร้างมาตรฐานใหม่ๆ ขึ้น ในปี 1661 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โปรดฯ ให้ก่อตั้งสถาบันการระบำ หรืออะคาเดมี รัวยาล เดอ ลา ดองส์ พร้อมๆ กันนั้น ท่าพื้นฐานของบัลเลต์คลาสสิก 5 ท่วงท่าก็ได้รับการบัญญัติขึ้น อง-บัปติสต์ ลุลยี นักแต่งเพลงชาวอิตาเลียนที่ทำงานรับใช้ราชสำนักฝรั่งเศส มีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาดนตรีสำหรับบัลเลต์ตลอดศตวรรษต่อมา เขาเป็นอีกคนที่ได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ด้วยความที่เขาเป็นนักเต้นเองด้วย ทำให้มีความเข้าใจในท่วงท่า และแต่งเพลงสนับสนุนความเคลื่อนไหวของนักเต้นได้เป็นอย่างดีเขาทำงานร่วมกับอง-บัปติสต์ โปเกอแลง นักเขียนบทละครเจ้าของนามปากกา โมลิแยร์ ทั้งคู่นำเอาสไตล์การละครแบบอิตาลี ทั้งสุขและโศกนาฏกรรมมาผสมผสานกันกลายเป็นบัลเลต์สนุกๆ ให้คนฝรั่งเศสชม โดยมีบัลเลต์เรื่องดัง อย่าง Le Bourgeois Gentilhomme อง-บัปติสต์ ลุลยี ยังเป็นผู้กำกับคนแรกของโรงละครแห่งสถาบันรัวยาล เดอ มูซิก ซึ่งนับเป็นสถาบันที่เป็นรากฐานของดนตรีบัลเลต์

องค์ประกอบของบัลเลท์มีอยู่ด้วยกันสองอย่างคือการเต้นและดนตรีโดยปกติดนตรีมักจะเกิดขึ้นก่อน

5

องค์ประกอบของบัลเลท์  มีอยู่ด้วยกันสองอย่างคือการเต้น และดนตรีโดยปกติดนตรีมักจะเกิดขึ้นก่อนและผู้คิดท่าทางให้กับดนตรีซึ่งผู้ประพันธ์เพลงประพันธ์เป็นเนื้อเรื่องในลักษณะของดนตรีบรรยายเรื่องราวไว้ ดนตรีบัลเลท์จึงจัดเป็นบทเพลงอีกประเภทหนึ่งที่น่าศึกษา บัลเลท์มีลักษณะคล้าย ๆ กับโอเปรา คือ การนำดนตรีไปรวมกับศิลปะแขนงอื่น ๆ ในบางครั้งบทเพลงประเภทนี้นำไปบรรเลงโดยไม่ใช้การเล่นประกอบ จึงมีลักษณะเป็นดนตรีบรรยายเรื่องราว  เช่น  ดนตรีประกอบการแสดงบัลเลท์แบบโมเดิร์ทดานซ์เรื่อง Appalachian  Spring  ของคอปแลนด์ ในระยะต่อ ๆ มามีผู้นิยมนำมาบรรเลงโดยไม่มีการแสดงประแต่ประการใด ดนตรีบัลเลท์มีลักษณะคล้ายซิมโฟนิคโพเอม คือ ใช้วงออร์เคสตราบรรเลงโดยมีหลายตอนตามเนื้อเรื่องที่ใช้การเต้นเป็นสื่อในการเสนอเรื่องราว

บัลเลท์ก็มีลักษณะคล้ายโอเปรา กล่าวคือเป็นการแสดงบนเวทีโดยมีตัวละครซึ่งใช้การเต้นเป็นหลักไม่มีเจรจาใด ๆ มีการแต่งตัว มีการจัดฉากและที่สำคัญ คือการใช้ดนตรีบรรเลงประกอบในลักษณะเดียวกับโอเปราและใช้วงออร์เคสตราบรรเลง การแสดงบัลเลท์มีการแบ่งเป็นองก์ เป็นฉากและมีเพลงนำเช่นเดียวกับโอเปรา ลักษณะของเพลงอาจะเป็นการบรรบายเรื่องราวหรือการใช้ไลฟ์โมทีฟเช่นเดียวกับโอเปรา กล่าวคือ การใช้แนวทำนองแทนตัวละครหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างแน่นอนและครั้งใดก็ตามที่ตัวละครตัวหนึ่่งปรากฏขึ้น  ดนตรีจะบรรเลงทำนองนั้นเสมอ  เช่น  เดียวก็บเหตุการณ์หนึ่ง ๆ โดยเหตุที่ตัวละครในบัลเลท์ไม่มีการร้องหรือเจรจาเป็นภาษาพูดในลักษณะของโอเปรา ดนตรีจึงมีความสำคัญมากเนื่องจากการสื่อภาษาต่าง ๆ ใช้ดนตรีถ่ายทอดโดยตลอดร่วมกับการเคลื่อนไหวในลักษณะของการเต้น ซึ่งเปรียบได้กับบทละครของโอเปราลักษณะพิเศษของบัลเลท์คือ การใช้ปลายเท้าเต้นโดยการเคลื่อนไหวลักษณะต่าง ๆ ด้วยการสวมร้องเท้าบัลเลท์ที่หนุนให้เท้าสามารถเขย่งได้อย่างมั่นคง ผู้คิดท่าเต้น จึงจะเป็นผู้หนึ่งที่มีความสำคัญมาก ดังนั้นถ้าผู้ชมบัลเลท์ต้องการติดตามเรื่องราวให้เข้าใจโดยตลอดอย่างแจ่มแจ้งจึงควรอ่านเนื้อเรื่่องในแต่ละองก์ แต่ละฉากก่อนชมบัลเลท์จะทำให้ติดตามชมบัลเลท์ได้อย่างเป็นเรื่องราวไม่น่าเบื่อ การชมบัลเลท์แต่ละครั้งผู้ชมจึงควรอ่านสูจิบัตรเสียก่อน  เพราะในสูจิบัติจะมีรายละเอียดเรื่องราวของบัลเลท์กล่าวไว้เสมอ

บัลเลต์ในประเทศรัสเซียเองก็พัฒนาไปภายใต้การปกครองแบบคอมมิวนิสต์

5

เมื่อทิศทางการพัฒนาของบัลเลต์ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ถึง 20 มุ่งหน้าไปเช่นนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ความเฟื่องฟูของบัลเลต์ในภายหลังจะมามีศูนย์กลางอยู่ที่รัสเซีย โดยเฉพาะเมื่อมี 3 ทหารเสือ อย่าง มาริอุส เปติปา เลฟ อีวานอฟ และเพเทอร์ ไชคอฟสกี ซึ่งช่วยกันแต่ง Swan Lake จนกลายเป็นบัลเลต์เรื่องดังที่สุดในโลก มาริอุส ซึ่งเป็นนักออกแบบท่าเต้น ยังร่วมงานกับเพเทอร์ ไชคอฟสกีในบัลเลต์เรื่องดังๆ ของโลก อย่าง The Nutcracker และ The Sleeping Beauty ซึ่งนับว่าเป็นยุคทองของรัสเซียทีเดียว จากเรื่อง Swan Lake นี่เองทำให้เกิดกระโปรงสั้น ที่เรียกว่า ตูตู้ อย่างที่เราเห็นทั้งหงส์ขาวหงส์ดำในเรื่องดังกล่าวสวมใส่ ภายหลังกลายเป็นกระโปรงที่สวมกันในนักเต้นบัลเลต์ทั่วไป บัลเลต์รัสเซียมียุคทองอยู่ได้ไม่นานก็เกิดการปฏิวัติในรัสเซีย ทั้งนักแต่งเพลง นักออกแบบท่าเต้น และนักแสดงจำนวนมากพากันอพยพออกนอกประเทศ โดยเฉพาะการอพยพมาจุดกำเนิดของบัลเลต์คลาสสิก อย่าง ฝรั่งเศส ของเซอร์เก ดิอากิเลฟ ที่มาเปิดบริษัท บัลเลต์รัสเซีย ในกรุงปารีส อันเป็นศูนย์กลางของบัลเลต์รัสเซียหลังจากปฏิวัติบอลเชวิกส์

ขณะเดียวกันบัลเลต์ในประเทศรัสเซียเองก็พัฒนาไปภายใต้การปกครองแบบคอมมิวนิสต์ นักแสดงมากความสามารถหลายคนยังคงอยู่ในประเทศ และมีการพัฒนาเด็กรุ่นใหม่ๆ ขึ้น บัลเลต์เป็นสิ่งที่แพร่หลายมากในรัสเซีย แม้ว่าจะอยู่ภายใต้การปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ยังมีการตั้งคณะบัลเลต์ชื่อดังมากมาย ตั้งแต่คณะบอลชอย คณะคีรอฟ (เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) ฯลฯ โดยนอกจากบัลเลต์เรื่องคลาสสิกๆ ที่ยังแสดงกันอยู่แล้ว ยังมีการนำวรรณกรรมหลายเรื่องมาเขียนเป็นบทบัลเลต์ เรื่องที่ดังๆ ก็คือ Romeo and Juliet และ Cinderella โดยส่วนใหญ่ บัลเลต์ในปัจจุบันก็มักจะไม่ทิ้งเรื่องราวคลาสสิกเดิมๆ ที่มีการสร้างสรรค์เอาไว้แล้วตั้งแต่สมัยยุคทองของรัสเซีย การชมบัลเลต์ที่สวยงามจึงมักตัดสินกันที่ความสามารถของนักแสดงตัวเอกเป็นหลัก ว่าจะถ่ายทอดท่วงท่า ลีลา และอารมณ์ที่เป็นจุดเด่นของบัลเลต์แต่ละเรื่องออกมาได้โดดเด่นขนาดไหน ขณะที่ในส่วนของศิลปินบัลเลต์มากมายที่หลั่งไหลมาสู่ฝรั่งเศสหลังการปฏวัติรัสเซีย ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจข้ามน้ำไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งนับเป็นพัฒนาการในบัลเลต์ครั้งใหญ่อีกหน ไปสู่ยุคของนีโอคลาสสิกบัลเลต์ ก่อนจะเปลี่ยนรูปแบบตามการสร้างสรรค์ของศิลปินไปเป็นบัลเลต์ร่วมสมัย

 

ประโยชน์การเรียนบัลเลต์สำหรับเด็กทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ

บัลเลต์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่ศาสตร์หนึ่งซึ่งถ่ายทอดกันมาหลายศตวรรษ บัลเลต์ทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆแข็งแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อส่วนกลางของลำตัวของกล้ามเนื้อขา ทำให้มีตัวตรง และทรงตัวได้ดี อวัยวะภายใน เช่น หัวใจ และปอด ได้ทำงานแบบเดียวกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิค การเรียนบัลเลต์ทำให้ผู้เรียนมีการเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วงดงาม มีรูปร่าง และบุคคลิกภาพที่ดูเป็นสง่าอย่างธรรมชาติ บัลเลต์ยังเสริมสร้างความสุนทรีย์ทางอารมณ์ ทำให้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างมีศิลปะ ได้สัมผัสกับดนตรีคลาสสิค ซึ่งในชีวิตปัจจุบันเด็กมักจะไม่มีโอกาสได้มีส่วนร่วมกับการฟัง หรือใช้ดนตรีคลาสสิค เด็กที่เรียนบัลเลต์จะรู้สึกผ่อนคลาย ฝึกฝนสมาธิ และมีความสุขเด็กที่ได้รับการฝึกสอนอย่างถูกต้อง นอกจากจะมีร่างกายที่มีทักษะที่ดีแล้ว ยังจะมีมารยาทงดงาม เนื่องด้วยในห้องบัลเลต์มีระเบียบแบบแผนในการเรียน ฝึกการรับฟังคำสั่ง และปฏิบัติอย่างว่องไว มีระเบียบในการแต่งกาย ฝึกการควบคุมสมาธิ และฝึกความอดทน บัลเลต์จึงเป็นกิจกรรมพิเศษของเด็กที่น่าสนใจมากที่สุดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้เพราะเป็นทั้งศิลปะ และกีฬา สำหรับเบื้องต้นนั้นใช้เวลาเรียนสัปดาห์ละ 2 ครั้ง แต่สำหรับนักเรียนที่มีความสนใจจริงจังในขั้นสูงอาจเรียนมากกว่านั้น

เลือกโรงเรียนอย่างไรดี
การเลือกโรงเรียนบัลเลต์ และคุณครูผู้สอนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการเรียนบัลเลต์ ทั้งนี้เพราะการเรียนบัลเลต์เป็นการถ่ายทอดทักษะจากบุคคลสู่บุคคล คุณครูผู้จบการศึกษาทางด้านบัลเลต์ชั้นสูง มีบุคคลิกภาพที่ดี มีรสนิยม และการแต่งกายที่ดี มีการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง และสุภาพ ย่อมสามารถถ่ายทอดวิชา รวมทั้งบุคคลิกที่ดีให้เด็กได้ดีกว่าก่อนที่จะเรียนบัลเลต์ ผู้ปกครองควรศึกษาเกี่ยวกับโรงเรียนต่างๆที่เปิดสอนว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร ผู้บริหารของโรงเรียนเป็นบุคคลที่เรียนบัลเลต์มาโดยตรง และมีความรู้จริง รวมทั้งมีทัศนคติถูกต้องต่อศิลปะการเต้นหรือไม่ ผลงานของโรงเรียนได้รับความยอมรับเพียงไรในวงการบัลเลต์ ทั้งในประเทศ และจากต่างประเทศ นักเรียนที่จบไปแล้วประสบความสำเร็จถึงระดับใด รวมทั้งนักเรียนปัจจุบันมีผลการเรียน การสอบ รวมทั้งบุคคลิกภาพอย่างไร การเลือกโรงเรียนที่ดีนั้น ย่อมคุ้มค่าสำหรับเวลาที่จะเสียไปในการเสริมสร้างบุคคลหนึ่งๆ ให้ก้าวไปในอนาคตอย่างมีคุณภาพที่สุด

คุณค่าที่ยังสืบเนื่องไปถึงอนาคต
นอกจากบัลเลต์จะมีคุณค่าในตัวของมันเองแล้ว ยังเป็นพื้นฐานของการเต้นในทุกรูปแบบ เช่น คอนเทมโพราลีดานซ์ ระบำแจ๊ส ลีลาศ ฯลฯ ทั้งนี้เพราะบัลเลต์สอนให้รู้ถึงความสมดุลย์ของการเคลื่อนไหว ทำให้ร่างกายตอบสนองต่อการสั่งการของสมองได้ว่องไว และยังเป็นพื้นฐานให้กับกีฬาหลายอย่าง เช่น ยิมนาสติค, สเก็ตน้ำแข็ง, และกีฬาอื่นๆอีกหลายประเภทเด็กที่มีพื้นฐานของบัลเลต์อยู่ในตัว แม้ว่าไม่ได้เป็นนักบัลเลต์อาชีพ ย่อมเติบโตขึ้นด้วยความมีทักษะของร่างกายที่พร้อมจะร่วมกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ด้วยความมั่นใจในตนเอง และมักจะได้รับเลือกให้เป็นผู้แสดง และผู้แทนในกิจกรรมต่างๆของสถาบัน ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยทำงาน เติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสนใจทางศิลปะแขนงต่างๆ หลายด้าน มีความเข้าใจซาบซึ้งได้ถึงวัฒนธรรมทั้งของตอนเอง หรือชาติอื่น เด็กๆเหล่านี้ได้รับการปลูกฝังให้รักการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสำหรับบางคนอาจเป็นนิสัยที่ติดตัวไปจนตลอดชีวิต

ในการทำให้การเต้นบัลเล่ต์ในราชสำนักกลายเป็นการเต้นรำเพื่ออาชีพ

การเต้นบัลเล่ต์เป็นการเต้นรำเพื่อความบันเทิงเฟื่องฟูช่วงปลายศตวรรษที่ 15-16 ในรูปแบบต่างๆไม่ว่าการแสดงโลดโผน ละครใบ้ บทสนทนา และบทเพลงผสมผสานกัน มีจุดประสงค์รับใช้ราชสำนักเป็นหลัก ประชาชนเป็นรองสำหรับบัลเล่ต์เป็นศิลปะการเต้นรำที่พระนางแคทเธอรีน แห่งเมดีซี นำไปพัฒนาที่ฝรั่งเศส เมื่อพระนางอภิเษกกับกษัตริย์อองรีที่ 2 ในตอนนั้นการแสดงบัลเล่ต์ใช้เวลานานกว่า 5 ชั่วโมง การเเสดงบัลเล่ต์ทำให้สตรีในราชสำนักมีโอกาสร่วมเต้นรำ หลังจากที่เคยจำกัดอยู่ในวงของบุรุษ แต่บทนางเอกของเรื่องก็ยังกำหนดให้ผู้ชายแสดงอยู่ดี ส่วนผู้หญิงได้เล่นแต่บทเล็กๆ

นอกจากนั้นผู้หญิงยังถูกจำกัดท่าทางการเต้นด้วยเครื่องแต่งกายที่ฟูยาว ขณะที่ผู้ชายแต่งตัวด้วยชุดรัดรูป ทำให้มีอิสระในการเคลื่อนไหวของขามากกว่า ไม่ว่าการหมุน การซอยเท้า การกระโดดซับซ้อนขึ้น รวมทั้งการยืนบนปลายเท้า ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการเต้นบัลเล่ต์ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นผู้มีอิทธิพลมากในการทำให้การเต้นรำในราชสำนักกลายเป็นการเต้นรำเพื่ออาชีพ พระองค์ร่วมแสดงละครบัลเล่ต์เรื่อง “La nuit” ทั้งระดมผู้คนทั้งในราชสำนัก นักการเมือง และผู้มีพรสวรรค์ทุ่มเทพัฒนาการแสดงเต้นรำ ค.ศ.1661 ทรงก่อตั้งสถาบันการเต้นรำอาชีพและสถาบันการดนตรีแห่งราชสำนัก และในปี 1671 จึงมีโรงเรียนสอนเต้นรำ ที่กรุงปารีส ซึ่งเปิดกว้างสู่สามัญชนในช่วงปลายศตวรรษที่ 17-18 มีการก่อตั้งมูลนิธิของบัลเล่ต์ เพื่อพัฒนาการเต้นให้ดียิ่งขึ้น เช่น การใช้เท้าที่ซับซ้อนและเป็นธรรมชาติมากขึ้น ขณะที่นักเต้นบัลเล่ต์หญิงเริ่มมีบทบาทเด่นมากขึ้น

ในปี 1681 นักเต้นหญิงมีโอกาสขึ้นเวที โดย Marie de Carmargo เป็นหนึ่งในนักเต้นบัลเล่ต์หญิงที่มีชื่อเสียงด้านระบำปลายเท้าที่ว่องไวและซับซ้อน เธอยังเป็นผู้ที่ตัดกระโปรงบัลเล่ต์ให้สั้นลง 2-3 นิ้ว เพื่อให้เต้นสะดวกขึ้น การปฏิวัติของมารีไม่ได้รับการยอมรับนัก กระทั่ง 50 ปีผ่านไปในปีค.ศ.1760 ผู้เชี่ยวชาญบัลเล่ต์เริ่มตั้งคำถามถึงข้อจำกัดซึ่งยึดหลักศิลปะ และข้อจำกัดที่ไม่จำเป็น ปรมาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวงการคือ ฌอง จอร์จ โนแวร์ ผู้เสนอแนวคิดการพัฒนาบัลเล่ต์ให้เป็นแบบฉบับศิลปะที่เป็นจริงเป็นจัง เพราะเห็นว่าบัลเล่ต์ควรเป็นวิธีที่ใช้แสดงความคิดทางละครผ่านทางการผสมผสานที่สมบูรณ์แบบของการเต้นรำ ละคร และตัวละคร เขาแลกเปลี่ยนความคิดของเขากับนักเรียน นักเต้นรำ และผู้ออกแบบท่าเต้นในเวลานั้น แต่มีอยู่เพียงท่านเดียวที่นำแนวความคิดของโนแวร์ไปปฏิบัติคือ โดแบร์วาล ผู้ออกแบบท่าเต้นทิ่ยิ่งใหญ่ เขาออกแบบท่าเต้นรำและสร้างตัวละครสามัญชนในละครเรื่อง La Fille Mal Garde ปีค.ศ.1789

อายุกี่ขวบหรือกี่ปี เหมาะสำหรับที่จะการเริ่มเรียนบัลเลต์

อายุกี่ขวบ เหมาะสำหรับการเริ่มเรียนบัลเล่ต์ หรือ เรียนบัลเล่ต์ตอนเป็นผู้ใหญ่ได้หรือไม่
เด็กเล็ก
ถือเป็นคำถามฮอทฮิตติดดาวเลยทีเดียวค่ะ โดยทั่วๆไปก็จะรับเด็กเริ่มตั้งแต่อายุ 4-5 ขวบขึ้นไป ในความเห็นส่วนตัว ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเด็กและผู้ปกครองค่ะ ถ้าเริ่มตอนอายุ 5 ขวบ ข้อดีคือเด็กโตพอที่จะรับผิดชอบตัวเอง พูดรู้เรื่องไม่งอแง แต่เด็กบางคนก็มาด้วยความพร้อมเรียนเต็มเปี่ยม มักจะเป็นพวกมีพี่สาวเรียนแล้วน้องอยากเรียนตามค่ะ ซึ่งบางคนนั้นอายุไม่ถึง 4 ขวบด้วยซ้ำ แต่สามารถทำได้ดี มีสมาธิ ให้ความร่วมมือกับครู แบบนี้ครูก็อนุญาตค่ะ แต่ก็ต้องเข้าใจก่อนว่าเรียนนั้นเรียนได้ แต่ถ้าต้องการสอบวัดระดับ ก็อาจต้องเรียนรอไปจนอายุได้ตามเกณฑ์สอบค่ะ

เด็กค่อนข้างโต แต่อยากเริ่มเรียนบัลเล่ต์
เด็กบางคน อยากเรียนตอนอายุค่อนข้างมาก (12 ปีขึ้นไป) ไม่มีปัญหาค่ะ เด็กควรมาเริ่มเรียนกับชั้นเด็กเล็กๆก่อนแล้วจึงค่อยขยับเปลี่ยนชั้นขึ้นไปเรื่อยๆจนอยู่ในระดับชั้นเรียนที่เหมาะสมกับอายุและความสามารถ

บัลเล่ต์ในผู้ใหญ่ (Adult Class)
ปัจจุบันค่อยๆ เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้น จุดประสงค์ผู้เรียนส่วนใหญ่ก็เพื่อออกกำลังกาย (แบบสวยๆเก๋ๆ) หลายคนสนใจแต่กลัวเรื่องความอ่อนตัว ซึ่งเรื่องความอ่อนตัวนั้นฝึกกันได้ค่ะ ถ้ามีวินัยและความมุ่งมั่น รับรองว่าไม่ยาก

เด็กพิเศษ เด็กที่มีปัญหาด้านสรีระกับการเรียนบัลเล่ต์
ตอนอยู่มหาวิทยาลัยปี 3 และตอนเรียนเป็นนักเรียน Research ที่ญี่ปุ่น มีโอกาสได้ฝึกสอนเด็กพิเศษค่ะ มีทั้งออทิสติก, แอสเพอร์เกอร์, LD (Learning Disability) รวมไปถึงเด็กที่มีความผิดปรกติทางร่างกาย อย่างเช่นกล้ามเนื้ออ่อนแรง, เดินเขย่ง ฯลฯ เด็กพวกนี้การเต้นบัลเล่ต์สามารถช่วยได้นะคะ แต่ต้องใช้เวลาและกำลังใจอย่างสูง และบางคนสามารถเรียนรวมกับเด็กปรกติได้ค่ะ

เด็กที่มีปัญหาสรีระ ข้อเท้าบิด ขาโก่ง เข่าแอ่น เข่าซ้อนกัน เท้ากลิ้ง การเริ่มเรียนตั้งแต่ยังเล็กๆ ก็ช่วยได้ไม่มากก็น้อยค่ะ การเต้นบัลเล่ต์ไม่ยากอย่างที่คิด อย่ากลัวที่จะเริ่มค่ะ

เรียนบัลเลต์ (Ballet) ได้ทั้งสุขภาพและความสนุก

การออกกำลังกายไม่ว่าจะด้วยกีฬาประเภทไหนล้วนให้ประโยชน์กับร่างกาย เราสามารถบริหารร่างกายได้หลายวิธี เช่น การเล่นกีฬา การทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ การทำงานที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย แม้กระทั่งการเต้นรำก็จัดเป็นการออกกำลังกายที่ดี ดังนั้นจึงอยากแนะนำการเต้นบัลเลต์ เพื่อให้เป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับคนรักสุขภาพ

บัลเลต์ (Ballet) เป็นการเต้นประเภทหนึ่งที่มีความอ่อนช้อย เดิมเป็นการแสดงในพระราชวังของฝรั่งเศส ภายหลังได้รับการพัฒนาให้เป็นการแสดงประกอบดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่ หลายในประเทศฝรั่งเศสและรัสเซีย บัลเลต์ประกอบด้วยท่าเต้นที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งใช้ความอ่อนตัวของผู้เต้นควบคู่กับดนตรีแนวคลาสสิก ต่อมาได้รับความนิยมไปทั่วโลก โดยแต่ละประเทศจะผสมผสานศิลปะและวัฒนธรรมประจำชาติเข้ากับการแสดงเพื่อความ โดดเด่นของตัวเอง

เมื่อบัลเลต์ได้รับความนิยมมากขึ้นจึงก่อให้เกิดโรงเรียนสอนเต้นบัลเลต์ตาม มาแม้กระทั่งในประเทศไทยก็มีหลายสถาบันเปิดสอนการเต้นบัลเลต์ เต้นบัลเลต์ดีอย่างไร

การเต้นบัลเลต์จัดเป็นกิจกรรมที่พ่อแม่นิยมให้ลูกเรียน เพราะสามารถพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กได้ ทั้งยังช่วยให้เด็กมีท่าเดินที่สง่างาม หากปฏิบัติเป็นประจำเด็กจะมีสุขภาพแข็งแรง ร่าเริงแจ่มใส และกล้าแสดงออก นอกจากนี้ยังเป็นการปลูกฝังให้เด็กรักเสียงเพลงตั้งแต่วัยเยาว์ และเป็นการปูพื้นฐานการเต้นให้พวกเขาก่อนจะเลือกเรียนเต้นประเภทอื่น ดังนั้น บัลเลต์จึงมีประโยชน์หลายอย่างดังนี้

-ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

-ช่วยให้มีบุคลิกภาพและรูปร่างสวยงาม

-ฝึกระเบียบวินัยและความรับผิดชอบให้เด็ก

-เป็นการส่งเสริมให้เด็กรักเสียงเพลงและดนตรี

-เป็นการปูพื้นฐานการเต้นทุกประเภทให้เด็กเพื่อพัฒนาสู่การเต้นรำประเภทอื่นต่อไป

-ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้ร่างกาย และช่วยให้ข้อต่อร่างกายส่วนต่างๆเคลื่อนไหวได้ดี

เพื่อสร้างความเพลิดเพลินระหว่างเต้นบัลเลต์ เราควรเปิดเพลงประกอบ ขณะเดียวกันควรกำหนดระยะเวลาในการเต้น และควรเพิ่มระยะเวลาขึ้นตามลำดับ เพราะการฝึกบ่อยๆจะช่วยลดโอกาสในการบาดเจ็บจากความผิดพลาด ทำให้เราเต้นได้เก่ง และยังมีสุขภาพแข็งแรง

อย่างไรก็ตาม การเต้นบัลเลต์อาจเป็นกีฬาที่เหมาะกับคนมีฐานะ เพราะค่าใช้จ่ายสำหรับชุดและค่าเล่าเรียนค่อนข้างแพง ดังนั้น หากไม่มีกำลังทรัพย์ควรออกกำลังกายด้วยวิธีอื่น เช่น การเดิน การวิ่ง การปั่นจักรยาน ฯลฯ แต่อย่างน้อยต้องออกกำลังกายเพื่อความแข็งแรงของตัวเราเอง

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจให้ลูกไปเรียนบัลเล่ต์

ในปัจจุบันมีกิจกรรมที่สอนเสริมสำหรับเด็กเกิดขึ้นมากมาย เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ และนาฏศิลป์ แต่จะมีผู้ปกครองสักกี่คนที่จะรู้ว่ากิจกรรมแบบไหนเหมาะกับบุตรหลาน เพราะแต่ละกิจกรรมจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป และยังมีกิจกรรมที่เป็นที่นิยมอีกประเภทหนึ่ง นั่นคือ บัลเล่ต์

บัลเล่ต์ เป็นการเต้นถ่ายทอดเรื่องราวแทนคำพูด ออกเต้นตามจังหวะดนตรี เพื่อแสดงออกถึงความนึกคิด โดยไม่มีบทพูดแม้แต่คำเดียว การเรียนบัลเล่ต์เหมือนกับการเรียนรำไทย ซึ่งบัลเล่ต์นั้นเป็นศิลปะของทางชาติตะวันตก ซึ่งมีการใช้ท่าทางที่เป็นระเบียบ มีแบบแผน ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ส่วนชื่อท่าที่ใช้ก็เป็นภาษาอังกฤษทั้งสิ้น ประวัติของบัลเล่ต์นั้นมีที่มาจากประเทศอิตาลี และนำมาเผยแพร่ต่อในประเทศฝรั่งเศส ทำให้แพร่หลายเพิ่มมากขึ้น

เด็กๆหลายคนที่เลือกมาเรียนบัลเล่ต์นั้น เพราะอยากสวมใส่ชุดสวยๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เด็กผู้หญิงจะสวมถุงน่องและชุดที่คล้ายชุดว่ายน้ำสีสันและรูปแบบตามที่โรงเรียนได้กำหนดไว้ ส่วนเรื่องผมนั้นนักเรียนต้องทำมวยผมไว้ที่ด้านหลังให้เรียบร้อย เพื่อให้ครูผู้สอนเห็นแผ่นหลังที่ชัดเจน ส่วนเครื่องแต่งกายเด็กผู้ชายจะไม่ยุ่งยากเท่าเด็กผู้หญิง คือ สวมใส่เฉพาะถุงน่องกับเสื้อยืดเท่านั้น

ใครหลายคนอาจคิดว่าการเรียนบัลเล่ต์นั้นไม่มีประโยชน์ และดูฟุ่มเฟือย แต่ใครจะทราบว่าการเรียนนั้น มีประโยชน์ด้านเสริมสร้างบุคลิก การทรงตัว การเดิน การดัดตัว เป็นต้น ซึ่งจะดีหรือไม่นั้นต้องลองเข้าไปสัมผัสดู เพราะถ้าบัลเล่ต์เป็นสิ่งไม่ดีคงไม่มีการสืบทอดมานานนับร้อยปี

ผู้ปกครองหลายท่านพบว่าบุตรหลานมีบุคลิกภาพที่งดงามขึ้น แข็งแรง มีความกล้าแสดงออกมากขึ้น มีสมาธิมากขึ้น มีความสามารถในการทำท่าทางต่างๆ สามารถนำวิชาไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นๆได้ เช่น วิชาพละศึกษา วิชาดนตรี เป็นต้น ศิลปะทุกแขนงล้วนมีความน่าสนใจด้วยกันทั้งนั้น ทุกๆสิ่งที่อยู่รอบตัวเป็นตัวจุดประกายให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ บัลเล่ต์นั้นเป็นศิลปะที่งดงาม อ่อนหวานและช่วยพัฒนาทางด้านร่างกายและอารมณ์ เมื่อผู้เรียนสามารถเข้าใจและสนุกกับการเรียน ก็จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีที่สุด