ทำความรู้จักโรงกลึงในไทย

จำนวนโรงกลึงในไทย

โรงกลึงนับเป็นกิจการที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในแต่ละภูมิภาคของไทย โดยตามรายงาน ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าพบว่า ข้อมูล ณ 24 ต.ค. 2559 จำนวนผู้ประกอบการที่จดทะเบียนการค้ากับกรม พัฒนาธุรกิจการค้าในหมวดการกลึง กัด ไสโลหะและการปรับสภาพและการเคลือบโลหะ การกัดกลึงขึ้นรูป ที่ยังมี สถานภาพคงอยู่ในปัจจุบันมีด้วยกันราว 2,500 ราย และมีรายได้รวมประมาณ 40,000-50,000 ล้านบาท2 โดยโรงกลึง ส่วนมากตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ที่เป็นแหล่งโรงงานอุตสาหกรรมอย่างจังหวัดสมุทรปราการ ตามมาด้วยกรุงเทพฯ ชลบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร ระยอง และอยุธยา

ลักษณะกิจการโรงกลึงในไทย

เดิมกิจการโรงกลึงมักจะเป็นไปในลักษณะของการผลิตชิ้นส่วนเพื่อซ่อมแซมให้กับ เครื่องจักรนำ เข้าในยุคแรกๆ ของการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ด้วยช่างฝีมือที่มาจากการสั่งสมประสบการณ์ในการ ทำ งานที่มีความละเอียดของงานไม่สูงมาก และไม่สามารถรับงานในลักษณะที่เป็นซัพพลายเออร์ได้ จากนั้นได้มี การพัฒนามาสู่การผลิตเพื่อรองรับอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรกลใหม่ที่ผลิตในประเทศ โดยเฉพาะภายหลังจาก ที่อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์มีการเติบโตมากขึ้นตามลำดับ ก็ได้ก่อให้เกิดผู้ประกอบการในรูปซัพพลายเออร์ขึ้น

เพื่อทำชิ้นส่วนยานยนต์ และทำ ให้กิจการโรงกลึงมีความก้าวหน้ามากขึ้น โดยมีการนำ เครื่องมือกลที่มีความละเอียด สูงมาใช้ รวมไปถึงมีการใช้เครื่องมือกลที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Computerized Numerical Control Machine: CNC) และระบบการผลิตในลักษณะ CIM (Computer Integrated Manufacturing) ตลอดจนระบบ Flexible Manufacturing System มาใช้ด้วย แต่ทั้งนี้โรงกลึงที่มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่ดีและทันสมัยยังเป็นเพียง ส่วนน้อยในปัจจุบัน เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูงพอสมควร ส่งผลให้โรงกลึงส่วนใหญ่ในไทยยังคงเป็นผู้ประกอบการ ขนาดกลางและขนาดเล็กที่ใช้แรงงานฝีมือ และเทคโนโลยีไม่สูงมากนัก นอกจากนี้ ปัจจุบันโรงกลึงในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการผลิตภายใต้เครื่องหมายการค้าของลูกค้า ทั้งในรูปแบบของ Original Equipment Manufacturing (OEM) ที่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จะได้รับการวิจัยและ ออกแบบจากลูกค้า โดยลูกค้าจะส่งสินค้าต้นแบบให้กับบริษัทเพื่อทำ การผลิต และในรูปแบบของ Original Design Manufacturing (ODM) ที่ผลิตภัณฑจะถูกวิจัยและออกแบบเองโดยบริษัทตามความต้องการของลูกค้า ที่อาจจะ เป็นทั้งกลุ่มลูกค้าภายในประเทศและต่างประเทศ กล่าวคือ โรงกลึงส่วนมากไม่ได้มีการออกผลิตภัณฑ์ที่เป็นตราสินค้า ของบริษัทเอง ทั้งนี้ทั้งนั้น การรับจ้างผลิตไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องเป็นงานที่มีคุณภาพจริงและอยู่ในราคาที่เหมาะสม จึงจะมัดใจลูกค้าได้ โดยระยะเวลาในการผลิตพร้อมส่งมอบจะอยู่ที่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ และ 4-5 สัปดาห์ขึ้น อยู่กับความยากง่ายของวัตถุดิบหรือชิ้นงาน  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.โรงกลึงซีเอ็นซี.com