ในการทำให้การเต้นบัลเล่ต์ในราชสำนักกลายเป็นการเต้นรำเพื่ออาชีพ

การเต้นบัลเล่ต์เป็นการเต้นรำเพื่อความบันเทิงเฟื่องฟูช่วงปลายศตวรรษที่ 15-16 ในรูปแบบต่างๆไม่ว่าการแสดงโลดโผน ละครใบ้ บทสนทนา และบทเพลงผสมผสานกัน มีจุดประสงค์รับใช้ราชสำนักเป็นหลัก ประชาชนเป็นรองสำหรับบัลเล่ต์เป็นศิลปะการเต้นรำที่พระนางแคทเธอรีน แห่งเมดีซี นำไปพัฒนาที่ฝรั่งเศส เมื่อพระนางอภิเษกกับกษัตริย์อองรีที่ 2 ในตอนนั้นการแสดงบัลเล่ต์ใช้เวลานานกว่า 5 ชั่วโมง การเเสดงบัลเล่ต์ทำให้สตรีในราชสำนักมีโอกาสร่วมเต้นรำ หลังจากที่เคยจำกัดอยู่ในวงของบุรุษ แต่บทนางเอกของเรื่องก็ยังกำหนดให้ผู้ชายแสดงอยู่ดี ส่วนผู้หญิงได้เล่นแต่บทเล็กๆ

นอกจากนั้นผู้หญิงยังถูกจำกัดท่าทางการเต้นด้วยเครื่องแต่งกายที่ฟูยาว ขณะที่ผู้ชายแต่งตัวด้วยชุดรัดรูป ทำให้มีอิสระในการเคลื่อนไหวของขามากกว่า ไม่ว่าการหมุน การซอยเท้า การกระโดดซับซ้อนขึ้น รวมทั้งการยืนบนปลายเท้า ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการเต้นบัลเล่ต์ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นผู้มีอิทธิพลมากในการทำให้การเต้นรำในราชสำนักกลายเป็นการเต้นรำเพื่ออาชีพ พระองค์ร่วมแสดงละครบัลเล่ต์เรื่อง “La nuit” ทั้งระดมผู้คนทั้งในราชสำนัก นักการเมือง และผู้มีพรสวรรค์ทุ่มเทพัฒนาการแสดงเต้นรำ ค.ศ.1661 ทรงก่อตั้งสถาบันการเต้นรำอาชีพและสถาบันการดนตรีแห่งราชสำนัก และในปี 1671 จึงมีโรงเรียนสอนเต้นรำ ที่กรุงปารีส ซึ่งเปิดกว้างสู่สามัญชนในช่วงปลายศตวรรษที่ 17-18 มีการก่อตั้งมูลนิธิของบัลเล่ต์ เพื่อพัฒนาการเต้นให้ดียิ่งขึ้น เช่น การใช้เท้าที่ซับซ้อนและเป็นธรรมชาติมากขึ้น ขณะที่นักเต้นบัลเล่ต์หญิงเริ่มมีบทบาทเด่นมากขึ้น

ในปี 1681 นักเต้นหญิงมีโอกาสขึ้นเวที โดย Marie de Carmargo เป็นหนึ่งในนักเต้นบัลเล่ต์หญิงที่มีชื่อเสียงด้านระบำปลายเท้าที่ว่องไวและซับซ้อน เธอยังเป็นผู้ที่ตัดกระโปรงบัลเล่ต์ให้สั้นลง 2-3 นิ้ว เพื่อให้เต้นสะดวกขึ้น การปฏิวัติของมารีไม่ได้รับการยอมรับนัก กระทั่ง 50 ปีผ่านไปในปีค.ศ.1760 ผู้เชี่ยวชาญบัลเล่ต์เริ่มตั้งคำถามถึงข้อจำกัดซึ่งยึดหลักศิลปะ และข้อจำกัดที่ไม่จำเป็น ปรมาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวงการคือ ฌอง จอร์จ โนแวร์ ผู้เสนอแนวคิดการพัฒนาบัลเล่ต์ให้เป็นแบบฉบับศิลปะที่เป็นจริงเป็นจัง เพราะเห็นว่าบัลเล่ต์ควรเป็นวิธีที่ใช้แสดงความคิดทางละครผ่านทางการผสมผสานที่สมบูรณ์แบบของการเต้นรำ ละคร และตัวละคร เขาแลกเปลี่ยนความคิดของเขากับนักเรียน นักเต้นรำ และผู้ออกแบบท่าเต้นในเวลานั้น แต่มีอยู่เพียงท่านเดียวที่นำแนวความคิดของโนแวร์ไปปฏิบัติคือ โดแบร์วาล ผู้ออกแบบท่าเต้นทิ่ยิ่งใหญ่ เขาออกแบบท่าเต้นรำและสร้างตัวละครสามัญชนในละครเรื่อง La Fille Mal Garde ปีค.ศ.1789

อายุกี่ขวบหรือกี่ปี เหมาะสำหรับที่จะการเริ่มเรียนบัลเลต์

อายุกี่ขวบ เหมาะสำหรับการเริ่มเรียนบัลเล่ต์ หรือ เรียนบัลเล่ต์ตอนเป็นผู้ใหญ่ได้หรือไม่
เด็กเล็ก
ถือเป็นคำถามฮอทฮิตติดดาวเลยทีเดียวค่ะ โดยทั่วๆไปก็จะรับเด็กเริ่มตั้งแต่อายุ 4-5 ขวบขึ้นไป ในความเห็นส่วนตัว ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเด็กและผู้ปกครองค่ะ ถ้าเริ่มตอนอายุ 5 ขวบ ข้อดีคือเด็กโตพอที่จะรับผิดชอบตัวเอง พูดรู้เรื่องไม่งอแง แต่เด็กบางคนก็มาด้วยความพร้อมเรียนเต็มเปี่ยม มักจะเป็นพวกมีพี่สาวเรียนแล้วน้องอยากเรียนตามค่ะ ซึ่งบางคนนั้นอายุไม่ถึง 4 ขวบด้วยซ้ำ แต่สามารถทำได้ดี มีสมาธิ ให้ความร่วมมือกับครู แบบนี้ครูก็อนุญาตค่ะ แต่ก็ต้องเข้าใจก่อนว่าเรียนนั้นเรียนได้ แต่ถ้าต้องการสอบวัดระดับ ก็อาจต้องเรียนรอไปจนอายุได้ตามเกณฑ์สอบค่ะ

เด็กค่อนข้างโต แต่อยากเริ่มเรียนบัลเล่ต์
เด็กบางคน อยากเรียนตอนอายุค่อนข้างมาก (12 ปีขึ้นไป) ไม่มีปัญหาค่ะ เด็กควรมาเริ่มเรียนกับชั้นเด็กเล็กๆก่อนแล้วจึงค่อยขยับเปลี่ยนชั้นขึ้นไปเรื่อยๆจนอยู่ในระดับชั้นเรียนที่เหมาะสมกับอายุและความสามารถ

บัลเล่ต์ในผู้ใหญ่ (Adult Class)
ปัจจุบันค่อยๆ เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้น จุดประสงค์ผู้เรียนส่วนใหญ่ก็เพื่อออกกำลังกาย (แบบสวยๆเก๋ๆ) หลายคนสนใจแต่กลัวเรื่องความอ่อนตัว ซึ่งเรื่องความอ่อนตัวนั้นฝึกกันได้ค่ะ ถ้ามีวินัยและความมุ่งมั่น รับรองว่าไม่ยาก

เด็กพิเศษ เด็กที่มีปัญหาด้านสรีระกับการเรียนบัลเล่ต์
ตอนอยู่มหาวิทยาลัยปี 3 และตอนเรียนเป็นนักเรียน Research ที่ญี่ปุ่น มีโอกาสได้ฝึกสอนเด็กพิเศษค่ะ มีทั้งออทิสติก, แอสเพอร์เกอร์, LD (Learning Disability) รวมไปถึงเด็กที่มีความผิดปรกติทางร่างกาย อย่างเช่นกล้ามเนื้ออ่อนแรง, เดินเขย่ง ฯลฯ เด็กพวกนี้การเต้นบัลเล่ต์สามารถช่วยได้นะคะ แต่ต้องใช้เวลาและกำลังใจอย่างสูง และบางคนสามารถเรียนรวมกับเด็กปรกติได้ค่ะ

เด็กที่มีปัญหาสรีระ ข้อเท้าบิด ขาโก่ง เข่าแอ่น เข่าซ้อนกัน เท้ากลิ้ง การเริ่มเรียนตั้งแต่ยังเล็กๆ ก็ช่วยได้ไม่มากก็น้อยค่ะ การเต้นบัลเล่ต์ไม่ยากอย่างที่คิด อย่ากลัวที่จะเริ่มค่ะ

เรียนบัลเลต์ (Ballet) ได้ทั้งสุขภาพและความสนุก

การออกกำลังกายไม่ว่าจะด้วยกีฬาประเภทไหนล้วนให้ประโยชน์กับร่างกาย เราสามารถบริหารร่างกายได้หลายวิธี เช่น การเล่นกีฬา การทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ การทำงานที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย แม้กระทั่งการเต้นรำก็จัดเป็นการออกกำลังกายที่ดี ดังนั้นจึงอยากแนะนำการเต้นบัลเลต์ เพื่อให้เป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับคนรักสุขภาพ

บัลเลต์ (Ballet) เป็นการเต้นประเภทหนึ่งที่มีความอ่อนช้อย เดิมเป็นการแสดงในพระราชวังของฝรั่งเศส ภายหลังได้รับการพัฒนาให้เป็นการแสดงประกอบดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่ หลายในประเทศฝรั่งเศสและรัสเซีย บัลเลต์ประกอบด้วยท่าเต้นที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งใช้ความอ่อนตัวของผู้เต้นควบคู่กับดนตรีแนวคลาสสิก ต่อมาได้รับความนิยมไปทั่วโลก โดยแต่ละประเทศจะผสมผสานศิลปะและวัฒนธรรมประจำชาติเข้ากับการแสดงเพื่อความ โดดเด่นของตัวเอง

เมื่อบัลเลต์ได้รับความนิยมมากขึ้นจึงก่อให้เกิดโรงเรียนสอนเต้นบัลเลต์ตาม มาแม้กระทั่งในประเทศไทยก็มีหลายสถาบันเปิดสอนการเต้นบัลเลต์ เต้นบัลเลต์ดีอย่างไร

การเต้นบัลเลต์จัดเป็นกิจกรรมที่พ่อแม่นิยมให้ลูกเรียน เพราะสามารถพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กได้ ทั้งยังช่วยให้เด็กมีท่าเดินที่สง่างาม หากปฏิบัติเป็นประจำเด็กจะมีสุขภาพแข็งแรง ร่าเริงแจ่มใส และกล้าแสดงออก นอกจากนี้ยังเป็นการปลูกฝังให้เด็กรักเสียงเพลงตั้งแต่วัยเยาว์ และเป็นการปูพื้นฐานการเต้นให้พวกเขาก่อนจะเลือกเรียนเต้นประเภทอื่น ดังนั้น บัลเลต์จึงมีประโยชน์หลายอย่างดังนี้

-ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา

-ช่วยให้มีบุคลิกภาพและรูปร่างสวยงาม

-ฝึกระเบียบวินัยและความรับผิดชอบให้เด็ก

-เป็นการส่งเสริมให้เด็กรักเสียงเพลงและดนตรี

-เป็นการปูพื้นฐานการเต้นทุกประเภทให้เด็กเพื่อพัฒนาสู่การเต้นรำประเภทอื่นต่อไป

-ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้ร่างกาย และช่วยให้ข้อต่อร่างกายส่วนต่างๆเคลื่อนไหวได้ดี

เพื่อสร้างความเพลิดเพลินระหว่างเต้นบัลเลต์ เราควรเปิดเพลงประกอบ ขณะเดียวกันควรกำหนดระยะเวลาในการเต้น และควรเพิ่มระยะเวลาขึ้นตามลำดับ เพราะการฝึกบ่อยๆจะช่วยลดโอกาสในการบาดเจ็บจากความผิดพลาด ทำให้เราเต้นได้เก่ง และยังมีสุขภาพแข็งแรง

อย่างไรก็ตาม การเต้นบัลเลต์อาจเป็นกีฬาที่เหมาะกับคนมีฐานะ เพราะค่าใช้จ่ายสำหรับชุดและค่าเล่าเรียนค่อนข้างแพง ดังนั้น หากไม่มีกำลังทรัพย์ควรออกกำลังกายด้วยวิธีอื่น เช่น การเดิน การวิ่ง การปั่นจักรยาน ฯลฯ แต่อย่างน้อยต้องออกกำลังกายเพื่อความแข็งแรงของตัวเราเอง

เลือกโรงเรียนสอนบัลเล่ต์อย่างไรให้ลูก เพื่อไม่ใหเผิดหวัง

การเรียนบัลเล่ต์ นอกจากจะช่วยพัฒนาบุคลิกของเด็กแล้ว ยังสามารถช่วยแก้ไขข้อบกพร่องของลักษณะการเดินให้มีท่าทีที่สง่างามได้อีกด้วย เด็กที่ได้รับการฝึกฝนอย่างเป็นประจำจะเป็นเด็กที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ร่าเริงแจ่มใส เป็นการเสริมสร้างความมั่นใจและความกล้าแสดงออกให้กับเด็ก ตั้งแต่วัยเยาว์ อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังให้เด็กรักในเสียงดนตรีและการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ดีในการพัฒนาไปสู่การเต้นในรูปแบบอื่นๆต่อไป

เมื่อถึงเวลาที่ต้องเลือกที่เรียนเต้นบัลเล่ต์ หรือที่เรียนเต้นต่างๆให้ลูก คุณพ่อคุณแม่หลายท่านคงคิดหนักใช่มั้ยคะ ดีแล้วค่ะ คิดให้หนักเถอะ เพราะถ้าเลือกพลาดแล้วเนี่ย แก้ยากค่ะ ครูเต้นอย่างไร เด็กๆก็จะซึมซาบแบบครูผู้สอนค่ะ แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่จะต้องวิตกมากเกินนะคะ เลือกให้เหมาะกับตัวผู้เรียนจะดีที่สุดค่ะ มาดูกันค่ะว่า เบื้องต้นเราจะเลือกอย่างไรกันดี

1. ชื่อเสียงของโรงเรียน ไม่ใช่ชื่อเสียงด้านที่มีสาขามากหรือโปรโมชั่นดีนะคะ สถาบันสอนความเป็นศิลปิน ไม่ใช่ร้านสะดวกซื้อค่ะ Smiley ที่ต้องพูดถึงชื่อเสียงเนี่ย ก็เพื่อความมั่นใจค่ะว่าสถาบันนั้นๆ จะเลือกครูผู้สอนที่มีความเชื่อถือได้ สถานที่และบรรยากาศในห้องเรียนเหมาะสม จำนวนนักเรียนในห้องไม่แออัดจนเกินไป ราคาค่าเรียนยุติธรรม
2. ครูผู้สอน ส่วนใหญ่สามารถขอเข้าไปทดลองเรียนได้ค่ะ ลองสังเกตดูว่าเด็กสนุกสนานกับการเรียนแค่ไหน ครูผู้สอนมีบุคลิกอย่างไร ครูแต่ละท่านท่านก็มี Profile อย่างไร ถ้าคิดว่าไม่คลิ้กกับเด็ก ก็ลองหาท่านอื่นดูได้ค่ะ
3. ตารางเวลาเรียน เรื่องการจัดเวลา อาจเป็นสิ่งยากพอสมควรสำหรับเด็กสมัยนี้ค่ะ เพราะบางคนเรียนพิเศษตั้งหลายอย่าง ต้องเลือกเอาค่ะว่าจะให้น้ำหนักกับสิ่งไหนมากกว่ากัน ส่วนใหญ่สถาบันสอนเต้นบัลเล่ต์จะเปิดสอนทั้งวันในวันเสาร์ และวันอาทิตย์ค่ะ ส่วนวันธรรมดาจันทร์ถึงศุกร์ก็จะเป็นช่วงเย็นหลังโรงเรียนเลิก แต่ถ้าเป็นคลาสคุณแม่บ้านก็จะเป็นช่วงสายๆค่ะ เพื่อคุณแม่บ้านที่ส่งลูกไปโรงเรียนแล้ว และยังอยากฟิตหุ่นด้วยการเต้น มีเยอะเหมือนกันนะคะคลาสเต้นบัลเลต์แบบนี้ ตัวเจ้าของBlogเองก็เคยสอนทั้งในญี่ปุ่นและไทยค่ะ
4. ราคาค่าเรียน ส่วนใหญ่จะประมาณ350 – 450 บาทต่อหนึ่งชั่วโมงค่ะ ถ้าเรียนแบบส่วนตัวก็น่าจะประมาณ 2,500 ขึ้นไป
5. ชุด บางสถาบันก็จะมี uniform แต่ส่วนใหญเด็กเล็กก็ไม่ค่อยซีเรียสค่ะ ซึ่งก็จะมี ชุดบัลเล่ต์ ถุงเท้าหรือถุงน่องและก็รองเท้าบัลเล่ต์

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจให้ลูกไปเรียนบัลเล่ต์

ในปัจจุบันมีกิจกรรมที่สอนเสริมสำหรับเด็กเกิดขึ้นมากมาย เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ และนาฏศิลป์ แต่จะมีผู้ปกครองสักกี่คนที่จะรู้ว่ากิจกรรมแบบไหนเหมาะกับบุตรหลาน เพราะแต่ละกิจกรรมจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป และยังมีกิจกรรมที่เป็นที่นิยมอีกประเภทหนึ่ง นั่นคือ บัลเล่ต์

บัลเล่ต์ เป็นการเต้นถ่ายทอดเรื่องราวแทนคำพูด ออกเต้นตามจังหวะดนตรี เพื่อแสดงออกถึงความนึกคิด โดยไม่มีบทพูดแม้แต่คำเดียว การเรียนบัลเล่ต์เหมือนกับการเรียนรำไทย ซึ่งบัลเล่ต์นั้นเป็นศิลปะของทางชาติตะวันตก ซึ่งมีการใช้ท่าทางที่เป็นระเบียบ มีแบบแผน ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ส่วนชื่อท่าที่ใช้ก็เป็นภาษาอังกฤษทั้งสิ้น ประวัติของบัลเล่ต์นั้นมีที่มาจากประเทศอิตาลี และนำมาเผยแพร่ต่อในประเทศฝรั่งเศส ทำให้แพร่หลายเพิ่มมากขึ้น

เด็กๆหลายคนที่เลือกมาเรียนบัลเล่ต์นั้น เพราะอยากสวมใส่ชุดสวยๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เด็กผู้หญิงจะสวมถุงน่องและชุดที่คล้ายชุดว่ายน้ำสีสันและรูปแบบตามที่โรงเรียนได้กำหนดไว้ ส่วนเรื่องผมนั้นนักเรียนต้องทำมวยผมไว้ที่ด้านหลังให้เรียบร้อย เพื่อให้ครูผู้สอนเห็นแผ่นหลังที่ชัดเจน ส่วนเครื่องแต่งกายเด็กผู้ชายจะไม่ยุ่งยากเท่าเด็กผู้หญิง คือ สวมใส่เฉพาะถุงน่องกับเสื้อยืดเท่านั้น

ใครหลายคนอาจคิดว่าการเรียนบัลเล่ต์นั้นไม่มีประโยชน์ และดูฟุ่มเฟือย แต่ใครจะทราบว่าการเรียนนั้น มีประโยชน์ด้านเสริมสร้างบุคลิก การทรงตัว การเดิน การดัดตัว เป็นต้น ซึ่งจะดีหรือไม่นั้นต้องลองเข้าไปสัมผัสดู เพราะถ้าบัลเล่ต์เป็นสิ่งไม่ดีคงไม่มีการสืบทอดมานานนับร้อยปี

ผู้ปกครองหลายท่านพบว่าบุตรหลานมีบุคลิกภาพที่งดงามขึ้น แข็งแรง มีความกล้าแสดงออกมากขึ้น มีสมาธิมากขึ้น มีความสามารถในการทำท่าทางต่างๆ สามารถนำวิชาไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นๆได้ เช่น วิชาพละศึกษา วิชาดนตรี เป็นต้น ศิลปะทุกแขนงล้วนมีความน่าสนใจด้วยกันทั้งนั้น ทุกๆสิ่งที่อยู่รอบตัวเป็นตัวจุดประกายให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ บัลเล่ต์นั้นเป็นศิลปะที่งดงาม อ่อนหวานและช่วยพัฒนาทางด้านร่างกายและอารมณ์ เมื่อผู้เรียนสามารถเข้าใจและสนุกกับการเรียน ก็จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีที่สุด

ศึกษาถึงประโยชน์ของการเรียนบัลเล่ต์ Ballet

บัลเลต์มีองค์ประกอบสำคัญมีอยู่ด้วยกันสองอย่างคือ การเต้น และดนตรี ซึ่งโดยปกติดนตรีมักจะเกิดขึ้นก่อน แล้วผู้คิดท่าทางเต้น จึงคิดท่าทางต่าง ๆ ให้เข้ากับเพลงนั้นๆ ทั้งนี้ผู้ที่ต้องการจะเต้นบัลเลต์ควรได้รับการฝึกฝนจากครูและควรเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อพัฒนาการด้านความอ่อนตัวและกระดูก บัลเลต์มีส่วนช่วยพัฒนาบุคลิกภาพ แก้ไขข้อบกพร่องของลักษณะการเดินให้มีความสง่างาม เช่น ยืนหลังตรง เพราะบัลเลต์ฝึกให้ยืนหลังตรงหน้าเชิดตลอดเวลา มีพัฒนาการทั้งทางด้าน อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เด็กที่ได้รับการฝึกฝนอย่างเป็นประจำจะมีสุขภาพแข็งแรง ร่าเริงแจ่มใส ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและความกล้าแสดงออกอีกด้วยนอกจากนี้ยัง ฝึกให้มีความรับผิดชอบและมีระเบียบวินัยเพราะมีการสอบเลื่อนระดับทุกปี

ปัจจุบันมีโรงเรียนเปิดสอนหลายแห่ง อย่างเช่น บางกอกแดนซ์ Point Studio โรงเรียนสอนบัลเลย์วราภรณ์-กาญจนา และอื่นๆ

หลักสูตรการเรียนการสอนบัลเลต์

Pre-Ballet สำหรับเด็ก 3 ขวบครึ่ง – 4 ขวบครึ่ง เป็นการสร้างจินตนาการของเด็ก และปูพื้นฐานเบื้องต้น เช่น การยืน การนั่ง การกดปลายเท้า ท่าแขน
Pre-Primary สำหรับเด็ก 4 ขวบครึ่ง – 5 ขวบครึ่ง เป็นการปูพื้นฐานท่าต่างๆ ท่าแขน ท่าเท้า และการกระโดดเบื้องต้น รวมถึงสร้างเสริมจินตนาการไปตามเสียงดนตรี
Primary สำหรับเด็ก 5 ขวบครึ่ง – 6 ขวบครึ่ง เน้นเรื่องเทคนิคมากขึ้น เริ่มมีระบำหรือเพลงที่ยาวขึ้น เริ่มมีการเต้นรำเดี่ยว ส่งเสริมพัฒนาการการรู้จักเต้นให้เข้ากับจังหวะมากยิ่งขึ้น

เกรด 1-8 เริ่มตั้งแต่เด็ก 7 ขวบขึ้นไป ความยากง่ายขึ้นอยู่กับระดับชั้นที่เรียน Advance พื้นฐานการเรียนบัลเลต์ในระดับสูงสำหรับผู้ที่ต้องการยึดเป็นอาชีพต่อไป

หลักสูตร บัลเลต์ผู้ใหญ่ เหมาะสำหรับผู้ใหญ่ที่ต้องการเสริมบุคลิกภาพ ออกกำลังกาย กระชับรูปร่างให้ได้สัดส่วนมากขึ้น
ประโยชน์ของการเรียนบัลเลต์
1.ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทั้งร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญา
2.ทำให้ผู้เรียนมีสรีระและบุคลิกภาพที่ดี เช่น การยืน เพราะบัลเล่ต์จะต้องยืนหลังตรงหน้าเชิดตลอดเวลา
3.ฝึกให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบและมีระเบียนวินัย เพราะมีการสอนเลื่อนระดับด้วย
4.ส่งเสริมพัฒนาการทางดนตรี เพราะช่วยให้ผู้เรียนรู้จักเพลงคลาสสิค
5.เป็นการปูพื้นฐานการเต้นให้กับผู้เรียน
6.เป็นการปลูกฝังรสนิยมที่ดีให้กับเด็ก

 

รู้จักกับ Ballet Dance

ผมคิดว่าหลาย ๆ คนก็อาจจะเคยเห็นการเต้นลักษณะนี้ก็ได้นะครับ ซึ่งโดยส่วนตัวเองก็พบเห็นตามทีวีทั่วไปบ่อย ๆ จำนวนมาก ซึ่งการเต้นลักษณะนี้นั้น เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมมาก เราอาจจะได้เห็นลีลาการพลิ้วไหว เหนือสายลมของนักเต้นบัลเลต์ ที่จะต้องคิดท่าทาง และท่วงทีต่าง ๆ เพื่อให้กรรมการนั้น สามารถเห็นได้ในเรื่องของความแตกต่าง ดังนั้นการเต้นบัลเลต์เหล่านี้นั้น ย่อมจะเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะการเต้นสมัยใหม่เลยก็ว่าได้ครับ

รู้จักกับ Ballet Dance

 

แต่พอไปอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับการเต้นรำประเภทนี้แล้ว ต้องน่าทึ่งเป็นอย่างมากครับ เพราะว่ากีฬาประเภทนี้นั้น มีประวัติและความเป็นมาอย่างยาวนานนั่นเอง อีกทั้งมีต้นกำเนิดอยู่ภายในประเทศอิตาลี่ และซึ่งเป็นการจัดโดยขุนนางในยุคนั้นเสียส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามในเรื่องของการเต้นบัลเลต์ชนิดนี้นั้น เป็นสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะว่าเป็นรูปแบบการเต้นรำ ที่น่าสนใจ และแน่นอน จะต้องได้รับการฝึกฝนมากกว่าการเต้นรำทั่ว ๆ ไปนั่นเองครับ

สำหรับรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับองค์ประกอบของการเต้นรำประเภทนี้ก็ยังมีครับ อาทิเช่นเครื่องแต่งกาย การจัดท่าทาง หรือว่าลีลา นับได้ว่าเป็นการเต้นรำที่จะต้องใช้ศิลปะพอสมควร ซึ่งเราเองก็คงอาจจะได้พบตามรายการทั่ว ๆ ไปนั่นเองครับ สำหรับเพื่อน ๆ คนไหนสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับการเต้นรำบัลเลต์ สามารถเข้ามาดูเรื่องราวต่าง ๆ ได้ที่นี่เลยครับ